เมืองโบราณคูบัว


ละติจูด 13.4865930281 , ลองจิจูด 99.8357439871

พิกัด

ตำบลคูบัว อำเภออำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองโบราณคูบัว เป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในวัฒนธรรมทวารวดีที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เจริญรุ่งเรืองในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-17 ที่ตั้งของเมืองโบราณคูบัว ตั้งอยู่ในเขตตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีลักษณะแผนผังของเมืองโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่กว้าง 800 เมตร ยาว 2,000 เมตรมีลักษณะเป็นเนินดินตามธรรมชาติอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร มีการก่อสร้างคูน้ำ 1 ชั้น และคันดิน 2 ชั้น ล้อมรอบตัวเมืองซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเมืองแบบวัฒนธรรมทวารวดีปัจจุบันแนวของคูน้ำเกือบทุกด้านตื้นเขิน ชาวบ้านใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำนา ปลูกผลไม้ขุดบ่อทำนากุ้ง ส่วนแนวคันดินทั้งชั้นนอกและชั้นใน มีการปลูกสร้างบ้านเรือนและทำถนนทับไปเกือบตลอดแนวจากหลักฐานที่ได้ขุดค้น พบโบราณสถานและมีโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในและนอกตัวเมืองโบราณคูบัว ซึ่งล้วนเป็นวัฒนธรรมทวารวดีทั้งสิ้น โดยเฉพาะภายในเมืองโบราณนี้มีวัดตั้งอยู่ 2 แห่ง คือวัดคูบัว ตั้งอยู่ในบริเวณตอนเหนือของเมือง และวัดโขลงสุวรรณคีรีตั้งอยู่เกือบใจกลางเมือง ภายในตัวเมืองพบโบราณสถานที่ปรากฏหลักฐานอยู่8 แห่งและโบราณสถานที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นโบราณสถานอีก 4 แห่ง ซึ่งถูกทำลายไปจนไม่เหลือส่วนพื้นที่นอกแนวคูน้ำคันดิน ทางด้านตะวันออกพบซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี 9 แห่ง ทางด้านทิศใต้มีซากโบราณสถาน 11 แห่ง ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีโบราณสถาน 2 แห่ง และซากโบราณสถาน 5 แห่ง ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันตก มีลำห้วยชินสีห์ซึ่งไหลผ่านมาจากบ้านห้วยชินสีห์ไหลเข้าตัวเมืองโบราณคูบัว พื้นที่ด้านนี้พบซากโบราณสถานจำนวน 21 แห่ง วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ในการก่อสร้างโบราณสถานเหล่านี้มักใช้อิฐซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวของอิฐสมัยทวารวดีคือเป็นอิฐที่มีขนาดใหญ่มาก กว้างประมาณ 18 ซม. ยาว 34 ซม.หนา 8 ซม. ดินที่ใช้เผาอิฐจะผสมด้วยแกลบข้าว การก่อสร้างจะใช้อิฐก่อเรียงกันขึ้นไป โดยใช้ดินเหนียวผสมน้ำอ้อยเป็นดินสอและมีการสอด้วยปูนบ้าง สำหรับแหล่งโบราณที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย พบร่องรอยที่น่าจะเป็นเนินดิน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย จำนวน 2 แห่ง ได้พบกระดูกสัตว์ปะปนอยู่กับเศษภาชนะดินเผา และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แว ตะคัน ตะเกียง ลูกกระสุน เบี้ย หม้อ ไห ชาม กุณฑีฯลฯ นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้เครื่องประดับ และอาวุธที่ทำจากโลหะ หิน แก้ว เช่นตุ้มหูแหวน กำไล ลูกกระพรวน อาวุธ แบบต่าง ๆ ลูกปัดที่ทำด้วยกระดูกสัตว์ หิน แก้ว กระดูกสัตว์ มีทั้ง สัตว์บก สัตว์น้ำสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม มีทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์เหล่านี้นอกจากใช้เป็นอาหาร พาหนะ และใช้ในการเกษตรกรรมแล้ว ยังเป็นหลักฐานสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมของเมืองโบราณคูบัวเมื่อครั้งทวารวดีว่า เคยมีสภาพเป็นป่าโปร่งผสมป่าเบญจพรรณ มีแหล่งน้ำประเภทห้วย หนอง คลอง บึง กระจายอยู่ทั่วไป และอยู่ไม่ห่างจากทะเลทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคูบัว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -