วัดปืน (ร้าง)


ละติจูด 14.8033030169 , ลองจิจูด 100.609574037

พิกัด

ตำบลท่าหิน อำเภออำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดปืน (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จากการสำรวจยังคงพบ วิหาร 1 หลัง ฐานเจดีย์ 1 ฐาน แนวโบราณสถานข้างอาคาร และบ่อน้ำ 1 บ่อวัดปืนอยู่บนพื้นที่ราบทางทิศตะวันตกของเมืองลพบุรีชั้นใน และอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำลพบุรี โดยทางทิศเหนือติดถนนบนเมือง ทิศตะวันออกติดถนนพระราม ทิศใต้ติดถนนวิชาเยนทร์ และทิศตะวันตกติดซอยวิชาเยนทร์ สำหรับโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถานวัดปืน ได้แก่ ศาลลูกศรทางทิศตะวันตกบ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้าน วิชาเยนทร์ทางทิศตะวันออก เทวสถานปรางค์แขกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และพระนารายณ์ราชนิเวศน์ทางทิศใต้ เป็นต้น อย่างไรก็ดีโบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารรุ่นเก่า ไม่ปรากฏชื่อของโบราณสถานวัดปืนเลย โดยพบเพียงการระบุตำแหน่งของเจดีย์บนพื้นที่บริเวณโบราณสถานวัดปืนในแผนผังเมืองละโว้ที่ช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2230 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น เมื่อรวมกับรูปแบบทางศิลปกรรมที่ปรากฏภายในวิหารวัดปืนซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2199 - 2231) ดังนั้นโบราณสถานแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างน้อย หรืออาจสร้างก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงสมัยนั้นก็เป็นได้จากการศึกษาเอกสารที่มีในปัจจุบัน ยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของโบราณสถานวัดปืนอย่างชัดเจนนัก โดยบ้างก็ว่าชื่อของวัดแห่งนี้น่าจะมีที่มาจากปืนพระราม หรือศรพระรามเพราะตั้งอยู่ใกล้กับศาลลูกศร บ้างก็ว่าเคยมีร้านขายปืนตั้งอยู่ในบริเวณนี้จึงเป็นที่มาของชื่อวัดปืน เป็นต้นอย่างไรก็ดี นอกจากแผนที่ของชาวฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ระบุตำแหน่งเจดีย์บนพื้นที่โบราณสถานวัดปืนแล้ว ในสมัยต่อมายังพบแผนที่กรุงเก่าเมืองลพบุรี ระบุปี พ.ศ. 2457 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เรียกอาคารและพื้นที่ในบริเวณนี้ว่า “วัดปืน (ร้าง), โบถ” นอกจากนั้นในหนังสือลพบุรีน่ารู้โดยหวน พินธุพันธ์ (2512 : 109) มีความบางตอนได้กล่าวถึงโบราณสถานวัดปืนแห่งนี้ว่า “...วัดปืนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงราชทูตไม่ไกลนัก คือถ้าตั้งต้นจากปรางค์สามยอด แล้วเดินไปตามถนนวิชาเยนทร์ทางทิศตะวันตกเมื่อเลยบ้านหลวงราชทูตไปสักเล็กน้อย จะมองเห็นพระอุโบสถวัดปืนทางขวามือ ลักษณะของพระอุโบสถเหลือแต่ผนังสี่ด้าน ไม่มีหลังคา ลักษณะของประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม บัวหัวเสายังปรากฏเหลืออยู่ ซึ่งสวยงามมาก ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสมัยลพบุรีวางกองอยู่หลายองค์ จากลักษณะของประตูหน้าต่างแบบโค้งแหลมนี้เอง จึงเข้าใจว่าวัดปืนนี้คงสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช...” กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ภายในบริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่และต้นไม่ขนาดกลางอยู่หลายต้น ทำให้เกิดความร่มรื่น อยู่ใกล้กับร้านค้าชุมขนและที่พักอาศัยในชุมชน จึงทำให้มีผู้คนมาใช้พื้นที่เป็นที่พักร้อนและนั่งพักผ่อน

แก้ไขเมื่อ

2021-10-26

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร