บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์)


ละติจูด 14.8029840233 , ลองจิจูด 100.610355017

พิกัด

ลพบุรี ตำบลท่าหิน อำเภออำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

บ้านวิชาเยนทร์ หรือ บ้านหลวงรับราชทูต ตั้งอยู่ทางเหนือของวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดเสาธงทอง ทางตะวันตกใกล้กับวัดปืน ที่มีกรุพระหูยาน และทางตะวันออกใกล้กับเทวสถานปรางค์แขกบ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อชาวกรีกที่มีชื่อ Constantine Phaulkon ได้เข้ามารับราชการและได้รับความดีความชอบ ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นถึง ""เจ้าพระยาวิชาเยนทร์""และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูตภายในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูต มีอาณาเขตกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้านทิศตะวันตก เป็นที่พักอาศัยของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ตอนกลางเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสต์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลัง ซุ้มประตูทางเข้าเป็น รูปจั่ว ด้านทิศตะวันออกมีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม และมีซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปครึ่งวงกลม ด้านหลังเป็นถังเก็บน้ำ และด้านหน้าเป็นสนามหญ้าลักษณะของสถาปัตยกรรมบ้านหลวงรับราชทูตบางหลังเป็นยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่อด้วยอิฐถือปูน 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ RENAISSANCE ซึ่งแพร่หลายในสมัยนั้น และที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสต์ ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว ศิลปะแบบไทย โบสถ์หลังนี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์ศาสนาหลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์พุทธศาสนา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

- สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมภายนอกอยู่ติดกับชุมชนหลายกลุ่ม จึงทำให้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากอยู่ในบริเวณโดยรอบ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเปิดให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมในวันและเวลาทำการ

- ความเสี่ยงต่อการถูกทำลาย เนื่องจากโบราณสถาณนี้ กรมศิลปากรที่ 4 ลพบุรี เป็นผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด มีเจ้าหน้าที่ดูแลและให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ภายในโบราณสถานอย่างต่อเนื่องจึงไม่ค่อยมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลาย เพียงแต่มีการจัดการขยะโดยรอบ ยังไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากว่าเป็นบริเวณที่ติดกับชุมชนจึงทำให้มีการทิ้งขยะบริเวณโดยรอบส่งผลให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม

- แนวทางการป้องกัน แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดและขอความร่วมมือคนในชุมชนช่วยกันรักษาความสะอาดเพื่อความสวยงามของโบราณสถานต่อไป

แก้ไขเมื่อ

2023-06-04

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร