เทวสถานปรางค์แขก


ละติจูด 14.798443976 , ลองจิจูด 100.611020247

พิกัด

ตำบลท่าหิน อำเภออำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

เทวสถานปรางค์แขก เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี ตั้งอยู่ใกล้กับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมี 3 องค์ แต่ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. 1425-1536) เป็นปรางค์แบบเก่า ซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถังเก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปาทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน ลักษณะอิทธิพลศิลปะเขมรแบบพะโค อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เทวสถานปรางค์แขก (ภาษาปากนิยมเรียก ปรางค์แขก ตัวเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวเหนือใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียวในแต่ละปรางค์ ส่วนอีกสามประตูเป็นประตูหลอก และไม่มีฉนวนเชื่อมดังพระปรางค์สามยอด แต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคงพังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีการปฏิสังขรปรางค์ทั้งสามองค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบถืออิฐสอปูนแต่ละก้นเชื่อมด้วยยางไม้ และสร้างอาคารอีกสองหลังขึ้นเพิ่มเติม โดยอาคารแรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทางทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน้ำประปา และอาคารทั้งสองเป็นศิลปะไทยผสมยุโรปโดยประตูทางเข้ามีลักษณะโค้งแหลม ต่อมาเมื่อชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรได้เข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานรากด้วย เทวสถานปรางค์ องค์ปรางค์มีประตูทางเข้าเฉพาะด้านหน้า ปัจจุบันบริเวณประตูทางเข้ายังคงพบชิ้นส่วนเสาประกับกรอบประตูซึ่งทำด้วยหินทรายติดอยู่ ส่วนด้านอื่นเป็นประตูหลอก ภายในปรางค์องค์กลางยังคงมีฐานศิวลึงค์ปรากฏให้เห็น ส่วนศิวลึงค์หายไปนานแล้วในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้บูรณะเทวสถานปรางค์แขก มีการสร้างวิหารเล็กขึ้นหน้าปรางค์ มีทางเข้าเป็นแบบประตูโค้งแหลม หน้าจั่วมีลายปูนปั้นประดับเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสร้างถังเก็บน้ำประปาตรงมุมเทวสถานด้านทิศใต้อีกด้วยต่อมาในปี พ.ศ. 2504 และ พ.ศ. 2521 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะปรางค์แขกอีกครั้งหนึ่ง เทวสถานปรางค์แขกประกอบด้วย ปรางค์สามองค์ก่อด้วยอิฐ วิหาร ถังน้ำก่อด้วยอิฐ เทวสถานนี้มีลักษณะต่างไปจากปราสาทขอมหลายอย่าง เช่น ลายปูนปั้นสูงขึ้นมาก ส่วนโค้งของบัวลูกแก้วที่ฐานปรางค์มีขนาดใหญ่ เครื่องบนหรือหลังคาเริ่มย่อมุมมาก การกำหนดอายุ น่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่เมืองลพบุรี และน่าจะสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 152. วิหารด้านทิศตะวันออก ของเทวสถาน โบสถ์วิหาร เข้าใจว่าจะเป็นโบสถ์พราหมณ์ ปัจจุบันเหลือเพียงพนังและหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลมเหมือนกับอาคารอื่นที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณหน้าจั่วมีลายปูนปั้นแบบตะวันตกเหลืออยู่ น่าจะสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช3. ถังน้ำประปา เป็นอาคารตึก 2 ชั้น ผนังเหลืออยู่ทั้ง 4 ด้าน น่าจะสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปรางค์แขก เป็นโบราณสถานอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบริเวณแยกถนนวิชาเยนทร์กับถนนสุระสงคราม หน้าศาลแขวงลพบุรี ถือเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี

แก้ไขเมื่อ

2024-01-22

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร