แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค (พิกัดวัดป่ากล้วย)


ละติจูด 14.8579269957 , ลองจิจูด 100.613114974

พิกัด

ตำบลท่าแค อำเภออำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค เป็นชุมชนโบราณในที่ราบภาคกลางตอนล่าง พื้นที่ส่วนที่พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านและโรงเรียนท่าแค สามารถจัดแบ่งชั้นวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ออกเป็น 3 สมัย โดยจัดเรียงลำดับตามลักษณะการทับถมจากชั้นดินบนสุดลงไปดังนี้ ท่าแคสมัยที่ 3 ท่าแคสมัยที่ 2 ท่าแคสมัยที่ 1 (สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเติม) ท่าแคสมัยที่ 1 ประกอบด้วยหลุมฝังศพ เศษภาชนะดินเผา ขวานหินขัด กำไลและลูกปัดหิน ลูกกระสุนดินเผา เศษกำไลสำริด และกระดูกสัตว์ชนิดต่าง ๆ หลักฐานประเภทต่าง ๆ เป็นสิ่งของสามัญที่พบเสมอในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ระดับหมู่บ้านเกษตรกรรมในประเทศไทย ดังนั้นจึงเชื่อว่าคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งที่บ้านท่าแคเป็นชนก่อนประวัติศาสตร์ที่ทำการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ พบเปลือกหอยประเภทหอยขม หอยโข่ง และก้างปลาจำนวนมากที่ทับถมปนอยู่กับโบราณวัตถุประเภทอื่น ๆ ท่าแคสมัยที่ 2 พบภาชนะดินเผาบางแบบ ผิวภาชนะสีน้ำตาลปนแดง ถึงน้ำตาลเข้ม เครื่องมือเหล็กกระจายอยู่ทั่วไป ในการขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2526 ได้พบหลุมฝังศพมีเครื่องเหล็กวางอยู่รวมกับโครงกระดูกคนที่มีขันสำริดคว่ำอยู่ที่กระโหลกศีรษะ และหลักฐานแสดงถึงการผลิตทองแดงขึ้นเองที่แหล่งนี้ คือ ตะกรันจากการถลุงที่พบมีลักษณะเป็นก้อนไม่ใหญ่นัก เนื้อละเอียดและวาวแบบแก้ว การผลิตทองแดงเป็นกิจกรรมที่สำคัญของแหล่งโบราณคดีแถบนี้เพื่อสนองต่อความต้องการสำริดของชุมชนอื่น ในการผลิตทองแดงเพื่อทำสำริด จะพบว่าต้องมีความร่วมมือของผู้ทำงานเฉพาะด้านหลายคน เช่น คนทำเหมืองทองแดง, ช่างถลุง, ผู้สนับสนุนด้านเชื่อเพลิง ถือถ่าน(ไม่ใช่ไม้ฟืน), จนถึงผู้ผลิตดีบุกและผู้นำดีบุกมายังแหล่งโบราณคดีแถบนี้ ในการติดต่อแลกเปลี่ยนที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบและพัฒนา ท่าแคสมัยที่ 3 พบโบราณวัตถุหลายประเภท ประเภทที่เห็นได้ชัดว่าเหมือนตามแหล่งโบราณคดีที่อื่นคือ มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุได้แก่ ลูกปัดทองคำ (เหมือนที่อู่ทอง), ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผา, ตะกั่วทำเป็นห่วงกลม, ตะกั่วแบบม้วนเป็นแท่ง, ลูกปัดหินแก้วสีต่าง ๆ, ต่างหูหินสีเขียว, นอกจากนี้ได้พบเหรียญเงิน 2 เหรียญในระดับเริ่มต้นของชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยที่ 3 มีกองเปลือกหอย และก้างปลาปนอยู่กับโบราณวัตถุอื่น ๆ (ลักษณะการทับถมเหมือนกองเปลือกหอยที่พบในระดับเริ่มแรกของสมัยที่ 1) สมัยที่ 3 ชุมชนนี้ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยแรกมาก กล่าวคือ ในสมัยแรกชุมชนตั้งอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งของเนินและเป็นชุมชนขนาดเล็ก แต่ในสมัยที่ 3 ขนาดของชุมชนใหญ่จนต้องขยายออกจากครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเนินท่าแค การตั้งชุมชนชาวบ้านท่าแค บ้านท่าแคเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งที่เรียกตนเองว่า ""ลาวหล่ม"" ตั้งอยู่ในเขต ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร บรรพบุรุษชาวท่าแคเล่าว่า ชาวบ้านอพยพหนีสงครามจากเวียงจันทน์ มาอยู่ที่วัดสามจีน(วัดสนามไชย) ใกล้แม่น้ำลพบุรี คนลาวไม่คุ้นกับการข้ามเรือ จึงย้ายมาอยู่ที่โคกลาว(ใกล้ห้วยมูล) ต่อมาเกิดน้ำท่วมจึงอพยพมาอยู่ที่ท่าแคเป็นพื้นที่สูง เรียกกันว่า""โคกท่าแคหรือโคกแม่หม้ายเศรษฐี"" (ประวัติชื่อท่าแค เพราะแต่ก่อนมีต้นแคขนาดใหญ่และบริเวณดังกล่าวเป็นท่าเรือ เรียกว่า ""ท่าแค"" ) การอพยพมาอยู่โดยมีปู่ขุนทิพย์ ย่าหมอ และย่าปลัด เป็นผู้นำมา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -