วัดดีลัง (วัดพนมวัน)


ละติจูด 14.9269625443 , ลองจิจูด 100.899571024

พิกัด

ตำบลดีลัง อำเภออำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15220

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

เป็นวัดในสมัยอยุธยา ประวัติหมู่บ้านจากคำบอกเล่าของผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้าน และผู้สูงอายุในหมู่บ้านดีลัง ทำให้เราได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของตำบลดีลัง โดยสังเขปได้ว่า ก่อนนั้นได้มีชาวบ้านเป็นกลุ่มอพยพมาจากเวียงจันทร์ ประเทศลาว เพื่ออพยพหลบหนีภัยสงครามกบฏ อนุวงษ์สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาล ที่ 1 -3 โดยมีเชื้อสายลาว ไทยเบิ้ง และญวน กลุ่มลาวไทยเบิ้งจะตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านดีลัง บ้านหนองนา และตำบลโคกสลุง ในสมัยปัจจุบัน แต่เดิมผู้คนจะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดงปลาซิว ทว่าอยู่ได้ไม่นานนักก็เกิดโรคระบาด ได้แก่โรคอหิวาห์และโรคฝีดาษ ระบาดอย่างหนัก ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากชาวบ้านดงปลาซิว จึงได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองขอม แต่แล้วโรคร้ายก็ยังตามมาระบาด อีกจึงได้อพยพมาอยู่ที่บ้านดีลังจนกลายเป็นหมู่บ้านที่มีคนตั้งครัวเรือนหลายพันครัวเรือนดังเช่นปัจจุบัน อีกคำกล่าวที่ได้แสดงถึงที่มาของหมู่บ้านหรือตำบลดีลัง ตามตำนานเล่าว่าได้มีสามีภรรยาอยู่คู่หนึ่ง มาตั้งรกรากทำมาหากินเป็นคู่แรก ชื่อว่า ตาดี กับยายลัง ต่อมามีผู้อพยพมาอยู่กันเรื่อย ๆ เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก ๆ ก็กลายเป็นกลุ่มครัวเรือน ต่อมาก็กลายเป็นหมู่บ้านและได้เรียกขนานถิ่นที่อยู่นี้ว่า “ บ้านดีลัง ” เป็นการสำนึกในชาติพันธุ์เดียวกัน หรือให้เกียรติแก่ผู้ที่มาอยู่ก่อน บริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านดีลัง ได้พบแร่เหล็กและน้ำตาเหล็กไหล ที่ได้หลอมจากบริเวณลานอุโบสถวัดพนมวัน เพื่อทำท่อประปาส่งน้ำจากอ่างซับเหล็กไปเลี้ยงในตัวเมืองละโว้หรือลพบุรี ในอดีตก็ได้มีการศึกษาชุมชนแห่งนี้มาแล้ว โดยเป็นการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ชื่อศรีสัตถาวร วัลลิโภดม เมื่อ พ.ศ. 2522 ซึ่งผลจากการศึกษา ทำให้ทราบว่าพื้นที่ตั้งของชาวบ้านดีลัง ได้เคยเป็นที่เดินทัพของพระรามาธิบดีที่ 2 ( พ.ศ. 2535-2352 ) โดยได้ยกทัพผ่านมายังหมู่บ้านแห่งนี้ ต่อมาได้มีการศึกษาถึงชุมชนแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง โดย ท่านดร. พรชัย สุดจิตต์ เพื่อทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกเสนอในมหาวิทยาลัย BROWNS กล่าวไว้ว่า ที่มาของหมู่บ้านดีลังได้มาจากคู่สามี – ภรรยาคู่หนึ่ง ชื่อ ตาดี กับ ยายลัง อพยพเข้ามาอยู่เป็นคู่แรก จึงเรียกขนานกันว่า “ บ้านดีลัง ” เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ สภาพแวดล้อมในอดีตเต็มไปด้วย ไม้เต็ง ลัง จึงเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

บริเวณอยู่ติดกับชุมชน จึงให้ผู้คนสัญจรไปมา บริเวณเป็นลานกว้าง

แก้ไขเมื่อ

2024-01-23

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร