เมืองเก่าลพบุรี


ละติจูด 14.800391 , ลองจิจูด 100.612984

พิกัด

ตำบลท่าหิน อำเภออำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองเก่าลพบุรีตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี มีลักษณะลาดลงมาจากเทือกเขาสามยอด ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 11-17 เมตร โดยระดับพื้นดินสูงต่ำไม่เท่ากัน ห่างจากชุมชนเมืองออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร แผ่นดินต่ำลงไปเป็นแอ่งใหญ่ เมื่อถึงฤดูฝนน้ำฝนจากเทือกเขาจะไหลลงมาขังอยู่ในแอ่งน้ำเป็นทะเลสาบเรียกว่า “ทะเลชุบศร” บริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำลพบุรีและลำคลองหลายสายไหลผ่าน เช่น คลองบางขันหมาก คลองเรือก รวมทั้งคลองชลประทานที่ขุดขึ้นมา ส่วนฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันตกตรงข้ามกับเมืองลพบุรี พื้นที่เป็นที่ต่ำตั้งอยู่ในตำบลบางขันหมาก ในฤดูน้ำหลากน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นท่วมฝั่ง ทำให้ลพบุรีมีสภาพคล้ายเกาะเล็ก ๆ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของชุมชนเมืองลพบุรีเป็นที่ลุ่มเช่นกัน ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “ทุ่งพรหมมาสตร์” ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมมาสตร์ มีลำน้ำไหลผ่านถึงเขาสมอคอน วัดไลย์ ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตำบลโพธิ์เก้าต้น และตำบลป่าตาล ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยมีระบบชลประทานหล่อเลี้ยงพื้นที่ลพบุรีมีขอบเขตเมืองเก่าที่ชัดเจน เมืองเก่าลพบุรีมีการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองมายาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีองค์ประกอบของเมืองที่สำคัญ คือ คูน้ำ คันดิน สมัยทวารวดี มีลักษณะรูปวงรี เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญคือ พระราชวังศาสนสถานต่าง ๆ สระน้ำ ได้แก่ สระมโนราห์ สระข้างพระปรางค์สามยอด คูเมือง กำแพงเมือง สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ปัจจุบันกำแพงเมืองเก่าด้านทิศตะวันตกเหลือเพียงซากกำแพงเมืองและเนินดิน ทางด้านตะวันออกของเมืองเก่า ปรากฏซากกำแพงเมืองคูเมือง และประตูเมืองบางส่วนอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งของค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ป้อมปราการ ประตูเมือง ได้แก่ ป้อมท่าโพธิ์ทางด้านทิศเหนือ ป้อมชัยชนะสงครามและประตูชัยทางทิศใต้ ร่องรอยของคูน้ำ คันดินที่ล้อมรอบเมือง สามารถแบ่งเมืองเก่าออกได้เป็น 4 ระยะ ตามยุคสมัยกล่าวคือ ระยะที่ 1 เป็นเมืองสมัยทวารวดี มีแผนผังรูปวงรี มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองอยู่ทางตะวันตกของเขตเมืองเก่าทั้งหมดติดกับแม่น้ำลพบุรี ซึ่งใช้เป็นคูเมืองด้านทิศตะวันตก ทางเหนืออยู่ตรงป้อมโพธิ์ แล้ววกมาทางตะวันออกซึ่งมีร่องรอยของคูน้ำด้านหลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย สิ้นสุดที่บริเวณประตูช่องกุดใกล้กับป้อมชัยชนะสงคราม มาจดกับแม่น้ำลพบุรีบริเวณวัดเชิงท่า ระยะที่ 2 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการขยายเมืองโดยการขุดคูน้ำและก่อคันดินต่อจากแนวคูเมืองชั้นแรกมาทางทิศตะวันออก ปัจจุบันอยู่ภายในเขตของค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระยะที่ 3 เกิดขึ้นพร้อมกับการขยายเมืองในระยะที่ 2 โดยก่อคันดินและขุดคูน้ำเพิ่มเติมมาทางตะวันออก ซึ่งเป็นแนวค่อนข้างตรงจากทิศเหนือจดใต้ ปัจจุบันแนวนี้อยู่ในเขตค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเช่นกัน สังเกตได้จากประตูเพนียดที่ยังอยู่ในสภาพดี ระยะที่ 4 มีการขยายเมืองออกไปทางตะวันออกต่อจากเขตเมืองในระยะที่ 3 โดยแนวตะวันออกสุดคือ คูน้ำและคันดิน ซึ่งเป็นแนวค่อนข้างตรงจากทิศเหนือจดใต้ ปัจจุบันแนวนี้คือถนนที่ตัดผ่านบริเวณวงเวียนสระแก้ว โดยมีร่องรอยของคูน้ำซึ่งเกือบหมดสภาพไปแล้วหลงเหลืออยู่บางส่วน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553

แก้ไขเมื่อ

2018-11-02

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร