วัดใหญ่จอมปราสาท


ละติจูด 13.5393270941 , ลองจิจูด 100.251083523

พิกัด

หมู่ที่ 5 บ้านท่าจีน ตำบลท่าจีน อำเภออำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดใหญ่จอมปราสาทตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน  ใกล้สะพานท่าจีน  ปากทางเลี้ยวเข้าวัดติดกับถนนสายธนบุรี – ปากท่อ  ตามประวัติศาสตร์  วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  แผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ  และได้รับพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดใหญ่เมืองสมุทรสาคร” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑  ยกเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้น  ด้วยปรากฏตาม

วัดนี้เป็นสถานที่ที่น่าชมเพื่อการศึกษาหาคุณค่า  ค้นคว้าหาความรู้ทางโบราณวัตถุเป็นอย่างดียิ่ง  และชื่อวัดที่เปลี่ยนจากเดิม  คือ “วัดใหญ่เมืองสมุทรสาคร” มาเป็นชื่อ “วัดใหญ่จอมปราสาท” นั้น  ทางวัดไม่พบหลักฐานปรากฏชัดว่าเปลี่ยนในรัชกาลใด  มีแต่เพียงตราตั้งชื่อวัดว่า  “วัดใหญ่เมืองสมุทรสาคร”  มอบไว้ให้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑  เท่านั้น  ได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

วัดใหญ่จอมปราสาท ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่มีอายุมากกว่า 400 ปี คาดว่าน่าจะสร้างตั้งแต่อยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ โดยชื่อวัดเดิมนั้นรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามว่า วัดใหญ่สาครบุรี รวมทั้งได้พระราชทานพระไตรปิฎกและยกฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกด้วย แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหญ่จอมปราสาท ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ทั้ง พระวิหารเก่าแก่ที่ก่ออิฐถือปูนฐานโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา และบริเวณซุ้มประตูและหน้าต่าง

 ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ทั้ง พระวิหารเก่าแก่ที่ก่ออิฐถือปูนฐานโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา และบริเวณซุ้มประตูและหน้าต่างมีการประดับลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักไม้ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นลวดลายของพันธุ์พฤกษา ต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์ และรูปคน ในศิลปะแบบจีนค่ะ ซึ่งเป็นลวดลายแกะสลักลึกเข้าไปในเนื้อไม้ที่งดงามมาก โดยกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้วัดนี้เป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน ปี พ.ศ. 2479 ความโดดเด่นของวัดนี้จะอยู่ที่ พระอุโบสถ จะมีบานประตูไม้ที่แกะสลักลึกเข้าไปในเนื้อไม้ถึง 4 ชั้น ทำให้มองดูแล้วคล้ายภาพสามมิติวิจิตรงดงามมาก ๆ โดยมีบานประตูบานหนึ่งแกะเป็นลวดลายเถาดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ต่าง ๆ ส่วนอีกบานจะแกะสลักเป็นรูปป่าสนจีน ที่มีลักษณะคล้ายต้นจากและต้นมะพร้าวค่ะ ภายในพระอุโบสถจะประดิษฐานพระพุทธรูป ที่เป็นศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยด้านบนเพดานและขื่อจะมีลวดลายเขียนสีเป็นรูปดอกไม้และลายประจำยาม  เป็นอีกวัดแห่งประวัติศาสตร์ของไทย ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ และสวยไม่แพ้วัดในจังหวัดอื่น ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็น ทั้งวัด ทั้งโบราณสถานที่สำคัญพระวิหารเก่าอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานบัวโค้งแอ่นคล้ายท้องเรือสำเภา สภาพปรัก หักพัง ผนังด้านทิศใต้และหลังคาพังทลายลงมาหมด ลักษณะของผนังก่ออิฐถือปูน สอบเข้าด้านบน ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูทรงมณฑป ประดับลวดลายปูนปั้น 1 ช่อง ด้านหลังทึบ ผนังทางด้านทิศเหนือมีเสาประดับผนังแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยห้องแรก และห้องสุดท้าย จะย่อมุมเข้าไป ส่วนอีก 3 ช่องเป็นผนังเรียบ ผนังห้องกลางมีช่อง หน้าต่าง 2 บาน ซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มหน้านางประดับลวดลายปูนปั้น ที่หัวเสาของผนัง ในแต่ละช่องประดับปูนปั้นเป็นลายกรวยเชิง สันนิษฐานว่าพระวิหารหลังนี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของพระวิหาร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคา เครื่องไม้มุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันปูนปั้นประดับกระจก ด้านหน้ามีมุขยื่น ออกมาจำนวน 1 ห้อง ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นประดับกระจก ทรงมณฑป บานประตูเป็นไม้แกะสลักลวดลายพันธุ์พฤกษา และสิงสาราสัตว์ต่าง ๆ โดยแกะสลักลึกเข้า ไปในเนื้อไม้ เป็นฝีมือช่างโบราณที่มีความงดงามในเชิงช่างและศิลปะเป็นอันมาก ลักษณะลวดลายจะมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาปะปนอยู่ด้วยทั้งสองบาน ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 6 บาน ซุ้มหน้าต่าง เป็นซุ้มหน้านางปูนปั้นประดับด้วยลายกระหนกเปลว บานหน้าต่างไม้แกะสลักเป็นลวดลายต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์และบุคคล แบบศิลปะจีน บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถนี้แต่เดิมเป็นบานประตูและ หน้าต่างของพระวิหารเก่านำมาซ่อมแซม และติดไว้ที่พระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูป ประทับนั่ง ปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น บนเพดาน และชื่อมีลวดลายเขียนสีเป็นรูปดอกไม้และลายประจำยาม

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-09-26

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร