ศาลพันท้ายนรสิงห์


ละติจูด 13.533147 , ลองจิจูด 100.380672

พิกัด

หมู่ที่ ๓ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภออำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้บันทึกเหตุการณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อพุทธศักราช ๒๒๔๗ ครั้งที่ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ ทรงเสด็จประพาสด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัยเพื่อทรงเสด็จ ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี ขณะนั้นมีพันท้ายนรสิงห์ผู้เป็นนายท้ายนะทำหน้าที่คัดท้ายเรือ เมื่อเรือพระที่นั่งถึงคลองโคกขาม ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติที่มีความคดเคี้ยวและน้ำเชี่ยวกราก การคัดท้ายเรือจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากจนเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งชนเข้ากับกิ่งไม้ใหญ่ริมคลอง เป็นเหตุให้หัวเรือหักตกลงไปในน้ำตามกฎมณเฑียรบาลในสมัยนั้นกำหนดว่า พันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้นมีโทษถึงประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะเสีย พันท้ายนรสิงห์ จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งมากราบทูลพระเจ้าเสือให้ทรงลงพระอาญาตามพระราชกำหนด โดยในครั้งแรกพระเจ้าเสือกล่าวพระราชทานอภัยโทษไม่ต้องการประหารชีวิตเพราะเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยด้วยหัวเรือที่หักนั้นสามารถทำการต่อเอาใหม่ได้แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเช่นนั้น กราบทูลให้เห็นแก่ขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะละเลยเสียมิได้ อันจะนำมาซึ่งการครหาติเตียนดูหมิ่นในการณ์ภายภาคหน้า พระเจ้าเสือได้ฟังเช่นนั้นจึง มีพระราชดำรัสสั่ง ให้ฝีพายปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นแล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเสีย เสมือนหนึ่งได้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์แล้ว และขอให้กลับลงมาในเรือเพื่อเดินทางต่อ แต่พันท้ายนรสิงห์ยังคงยืนยันยอมถวายชีวิตเพื่อรักษากฎมณเฑียรบาล ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อความรับผิดชอบ  พระเจ้าเสือจึงจำยอมทำตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งนายเพชรฆาตให้ประหารพันท้ายนรสิงห์โดยตัดศีรษะ แล้วส่งให้สร้างศาลขึ้นสูงเพียงตา ณ บริเวณที่ประหารนั้นและให้นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งที่หักนั้นขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล เนื้อหาที่ปรากฏในพงศาวดารดังกล่าวข้างต้นเขียนขึ้นหลังเหตุการณ์ราว ๑๐๐ ปีอาจจะมีถ้อยความที่เสริมเติมแต่งปะปนรวมอยู่ในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บ้างผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านของเมืองจึงต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาบริบทแวดล้อมประกอบเป็นสำคัญ  คำว่า  “พันท้าย” เป็นยศและตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ “คัดท้ายเรือ” คู่กับ “พันหัว” ทำหน้าที่ “คัดหัวเรือ” ส่วนคำว่า “นรสิงห์” ไม่น่าจะใช่ชื่อตัวแต่เป็นฉายาหรือสมญานามเป็นชื่อที่แสดงความเป็นคนเก่งหรือองอาจอย่างสิงห์    ด้วยความมีชื่อเสียงของพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นที่รู้จักผ่านวีรกรรมที่ได้รับการเล่าขานสืบทอดเรื่องราวกันมาอย่างยาวนานทำให้ปัจจุบันศาลท้ายนรสิงห์ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองโคกขาม ในท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลพันท้ายนรสิงห์อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี และอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์นายท้ายเรือพันท้ายนรสิงห์ที่มีต่อพระเจ้าแผ่นดินจนถึงขั้นยอมสละชีพเพื่อรักษากฎมณเฑียรบาล เป็นที่สักการะนับถือของชนชั้นหลังรวมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าของประเทศ ปัจจุบันได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาณของชาติ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและดำเนินการจัดสร้างสารพันท้ายนรสิงห์ขึ้นใหม่ทดแทนหลังเก่าซึ่งก่อสร้างด้วยไม้และมีสภาพชำรุดสุดโทรมและในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ทางกรมศิลปากรได้กันพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณรอบศาลอีกประมาณ ๑๐๐ ไร่ จัดตั้งเป็น “อุทยานพันท้ายนรสิงห์” พร้อมสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมประกอบด้วยสารพันท้ายนรสิงห์หลังใหม่(อาคารคอนกรีตทรงไทยภายในมีรูปหล่อพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าตัวจริงในลักษณะท่ายืนถือไม้พาย แต่งกายแบบนายท้ายเรือสมัยกรุงศรีอยุธยา) เรือจำลองแบบโบราณที่ใช้ในขบวนเสด็จพระเจ้าเสือ รักประหารพันท้ายนรสิงห์ ศาลเพียงตาพันท้ายนรสิงห์และศาลเจ้าแม่สีนวล (คาดว่าสร้างขึ้นสืบเนื่องจากกระแสความนิยมในภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์  ซึ่งเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล (เสด็จพระองค์ชายใหญ่) ได้ทรงนิพนธ์ “แม่นวล” เป็นตัวละครเพิ่มเติมขึ้นมาจากพงศาวดารเพื่อความสมบูรณ์ของภาพยนตร์) ด้านล่างของศาลมีเรือไม้ซึ่งทำจากไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ มีความยาว ๑๙.๔๗ เมตร กว้าง ๒.๐๙ เมตร สูง ๑ เมตร และกาบเรือหนา ๗.๕ ซม. คาดว่ามีอายุกว่า ๓๐๐ ปี คาดว่ามีอายุกว่า ๓๐๐ ปี ชาวบ้านใน ต.พันท้ายนรสิงห์ เป็นผู้ขุดพบ และนำมาบริจาคไว้ที่ศาลพันท้ายฯ ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่า อาจเป็นเรือในขบวนเสด็จ หรือ เรือที่ใช้ลำเลียงทหารในอดีต และด้านหลังของศาลก็จะมีหลักประหารเดิม ศาลเพียงตา และมีหุ่นจำลองเหตุการณ์ในครั้งนั้น ศาลพันท้ายนรสิงห์ นี้ผู้คนส่วนใหญ่นิยมมาขอพร ให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งหลายคนก็ได้ผลตามนั้น จึงนิยมนำรูปปั้นไก่,นวมชกมวย หรือไม้พายเรือ มาถวายเพื่อเป็นการแก้บน เนื่องจากประวัติที่กล่าวไว้นั้นแสดงให้เห็นว่า พันท้ายนรสิงห์ชอบชกมวยและตีไก่นั่นเอง พอสิ่งของที่ผู้คนนำมาแก้บนกันเยอะแยะนั้น ทางศาลฯ จึงได้นำออกมาประมูลขาย เพื่อนำรายได้นั้นไปดูแลรักษาศาลพันท้ายฯ ต่อไป ศาลพันท้ายนรสิงห์ มีการจัดงานบวงสรวงประจำปี ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ โดยจัดปีละ ๓ ครั้ง ในทุก ๆ วันหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีการฉายภาพยนตร์ประวัติพันท้ายนรสิงห์ รอบเช้า ๑๑.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. รอบบ่าย ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ขอบคุณภาพจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร

แก้ไขเมื่อ

2021-09-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร