พระบวรราชวังสีทา


ละติจูด 14.5912705434 , ลองจิจูด 100.973388751

พิกัด

ตำบลสองคอน อำเภออำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

พระบวรราชวังสีทา ตั้งอยู่ที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประวัติพระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างที่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งตะวันตก ณ ตำบลบ้านสีทา ในแขวงจังหวัดสระบุรีสร้างคราวเดียวกับเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี โดยสร้างเป็นเรือนไม้เครื่องไม้ บริเวณที่สร้างวังกว้างขวางมาก ประมาณ 150 ไร่เศษ ซากที่เป็นพื้นก่อเรือนไม้ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนเป็นบัวคว่ำบัวหงายมีรากฐานกว้างประมาณ 10 วา ยาวประมาณ 20 วา โดยคาดว่าสร้างขึ้น 2 หลัง อิฐสมัยนั้นแข็งแรงมาก ขนาด 4 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ครั้นพระสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดรื้อตำหนักลงมาสร้างวังพระราชทานพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่เหลืออยู่ก็หักพังสูญไปหมด ขึ้นทะเบียนเมื่อ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันบริเวณซึ่งที่เคยเป็นพระราชวังกลับเป็นบ้านราษฎร ประกอบอาชีพ ทำไร่ปลูกข้าวโพด มีการไถทำลายซากเดิมแทบจะสังเกตไม่ออก ต่อมากำนัน สุพัฒน์ ฤทธิ์จำปา กันเอาไว้เป็นที่สาธารณะประมาณ 4 ไร่เศษ บริเวณนี้ปรากฏเป็นชานประตูก่ออิฐฉาบปูน มีรอยวางแผ่นกระดานทำสะพานยื่นไปยังบึงน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ""บึงตลาดไชย"" ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัววังสีทา ห่างประมาณ 100 เมตรเศษ เล่ากันว่าทรงให้ใช้เป็นที่ประทับสรงน้ำจากบึงแห่งนี้ และเป็นที่ชุมนุมเหล่าสนมกำนัลนางฝ่ายใน เมื่อคราวเสด็จมาพักแรมในฤดูร้อนทุก ๆ ปี และยังมีลูก ๆ หลาน ๆ เหล่าสนมสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ อยู่เล่าสืบกันว่าสนมของพระองค์ทุกนางเก่งในทางแอ่วลาวมากที่สุด จนกระทั่งพระองค์เองสามารถเป่าแคนและแอ่วลาวได้ ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์กลอนลำแอ่วลาวไว้หลายเล่มสมุดไทย คงเหลือปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -