กำแพงเมือง-คูเมือง


ละติจูด 14.4869483528 , ลองจิจูด 100.112144776

พิกัด

ตำบลรั้วใหญ่ อำเภออำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

ร่องรอยชุมชนเมืองเก่าสุพรรณบุรี มีอาณาบริเวณครอบคลุมสองฝั่งแม่ทั้งทางด้านตะวันออกและ ตะวันตก ลักษณะเมืองมีคูน้ำคันดิน กําแพงเมืองและป้อมปราการที่สร้างด้วยอิฐล้อมรอบเชื่อมต่อแม่น้ำ สุพรรณบุรี เกิดเป็นผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3,600x1,900 เมตร ที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ตามแนวทิศเหนือ-ใต้ในลักษณะของเมืองอกแตก มีการขุดคูเมืองทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก เชื่อมต่อกับแม่น้ำ คูเมืองด้านตะวันออกเริ่มจากหมู่บ้านตาหมัน ขนานแม่น้ำผ่านบ้านน้อยจนจดโรงเรียน กรรณสูตรเก่า ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ ด้านตะวันตกเป็นคูเมืองเดิมผ่ากลางเมือง โอบล้อมวัด พระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งเป็นวดั ประจําเมือง รวมทั้งวัดอื่น ๆ ทางฝั่งตะวันตกไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคูเมืองของเมืองเก่าสุพรรณบุรี คือ การขุดคูอ้อมเป็นเกาะยื่นออกจากแนวตรงบริเวณที่เป็นป้อม แสดงให้เห็นเป็นลักษณะเป็นป้อมหรือประตูเมือง อย่างชัดเจน ลักษณะการขุดคูเมืองเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นและสําคัญของเมืองเก่าแห่งนี้ แต่น่าเสียดายที่มี ป้อมบางแห่งได้ถูกทําลายไปหมดแล้ว ร่องรอยการสร้างเมืองทับซ้อนขึ้นมาในภายหลัง ปรากฏร่องรอยของคูเมืองและกําแพงเมืองอยู่ชัดเจน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 920 เมตร ยาว 3,600 เมตร ตัวกำแพงก่อด้วยอิฐหนากว้างประมาณ 4 เมตร โดยยังคงหลงเหลือแนวกำแพงดินและคูเมืองให้เห็นระหว่างทางไปวัดป่าเลไลยก์กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กำแพงทางด้านทิศตะวันตกของเมืองทำแข็งแรงเป็นพิเศษคือเป็นสองชั้น มีคูน้ำกั้นอยู่ ชั้นนอก มีเนินดิน จดแม่น้ำด้านตะวันออกไม่พบตัวกำแพง เพราะถูกรื้อในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แม้ว่าคูเมืองและกําแพงเมืองเก่าสุพรรณบุรีจะได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน โบราณสถานแล้ว แต่ก็มีการจัดสรรพื้นที่ให้ราษฎรที่ขาดแคลนพื้นที่อยู่อาศัยได้เช่าปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ อาศัยในปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้คูเมืองและกําแพงเมืองเสื่อมสภาพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 สํานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี จึงได้ดําเนินงานขุดแต่งกําแพงเมือง โดยเริ่มจากด้านทิศใต้ ซึ่งพบว่ากําแพงเมืองสุพรรณบุรีเป็นกําแพงก่อด้วยอิฐมีความกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวตลอดแนว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นส่วนขอบของกําแพงเมืองด้านนอก เมือง ก่อด้วยอิฐหนาประมาณ 2 เมตร ลักษณะการก่ออิฐเป็นแบบขวางสลับยาว ส่วนที่สองเป็นกําแพง ด้านในเมืองก่ออิฐหนาประมาณ 1 เมตร โดยประสานต่อกับกําแพงเมืองด้านนอกเป็นช่วง ๆ ช่วงละ ประมาณ 5 เมตร ยาวตลอดแนวกําแพงเมือง ตรงกลางมีการถมอัดด้วยดินและเศษอิฐ ปัจจุบันเมืองเก่าสุพรรณบุรียังคงปรากฏร่องรอยของป้อมกลางคูเมือง จํานวน 6 ป้อม คือ ด้านทิศตะวันออก 1 ป้อม ด้านทิศเหนือ 1 ป้อม ด้านทิศตะวันตก 3 ป้อม และด้านทิศใต้ 1 ป้อม ลักษณะพิเศษของป้อมเมืองเก่าสุพรรณบุรี คือ การขุดคูอ้อม ด้านตะวันตกและด้านใต้ให้เป็นเกาะยื่น ออกไปจนเห็นเป็นป้อมหรือประตูเมือง ซึ่งอาจจะมีสะพานเชื่อมระหว่างตัวเมืองกับป้อม การขุดคูเมืองให้ โค้งออกนี้น่าจะใช้เป็นประตูเข้าออกเมืองด้วย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-10-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร