ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง


ละติจูด 14.4828833877 , ลองจิจูด 100.114828096

พิกัด

ตำบลรั้วใหญ่ อำเภออำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ศาลหลักเมือง หรือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี แต่เดิมเรียกว่าศาลเทพารักษ์หลักเมือง ไม่ทราบแน่ชัดว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่บอกว่า พบเทวรูปสลักบนแผ่นหินคู่หนึ่งจมดินอยู่ตรงศาลเจ้า ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นมาข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ หินนั้นมีลักษณะเป็นเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์สวมหมวกเติ๊ก (หมวกทรงกระบอก) สลักด้วยหินสีเขียว คล้ายศิลปะแบบขอม สมัยลพบุรี ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสบแต่ความสุขความเจริญ

เมื่อปี พ.ศ. 2435 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาตรวจราชการหัวเมืองสุพรรณบุรี มาทอดพระเนตรและทรงทำพลีกรรม ในช่วงเวลานั้นศาลเจ้ามีลักษณะเป็นไม้เก่า พระองค์จังชักชวนชาวเมืองสุพรรณที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันของไทย-จีน ช่วยกันสร้างศาลเจ้าใหม่มีลักษณะเป็นตึกก่ออิฐถือปูน ตัวศาลสร้างเป็นทรงไทยลักษะแบบอุโบสถ ส่วนประตูและเก๋งรายล้อมรอบแบบจีน มีหงส์ มังกร เป็นสัญลักษณ์ความร่วมมือของชาวเมืองสุพรรณไทย-จีนที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้นเอง

เมื่อปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซ่อมและก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่มาบูชา สร้างกำแพงแก้ว และต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมาข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีน

พ.ศ. 2507 นายพัฒน์ บุณยรัตพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีคนที่ 25 ร่วมกับนายบรรหารศิลปอาชา ซึ่งในขณะนั้นท่านยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายตื๊กเซี้ยะ แซ่ตั้ง ประธานกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ร่วมมือกันปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยรื้อออกทำใหม่ทั้งหมด ยกเว้นบริเวณผนังที่เจ้าพ่อประทับพิง แต่ยังคงรูปแบบตัวศาลที่คล้ายอุโบสถ ประตูและเก๋งรายล้อมรอบแบบจีนเช่นเดิม

พ.ศ. 2530 นายบรรหารศิลปอาชา และคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้ลงมติขยายตัวศาลเจ้าพ่อให้กว้างขวาง เพื่อรองรับแก่ผู้ที่มาสักการะที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นศาลเจ้าก่ออิฐถือปูนมีลักษณะคล้ายอุโบสถ ร้ายล้อมด้วยอาคารปูนที่มีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบจีน รวมถึงซุ้มประตูทางเข้าอีกด้วย

สถานที่สำคัญใกล้เคียงหรือสถานที่ที่สำคัญภายใน

         หมู่บ้านมังกรสวรรค์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณอุทยานมังกรสวรรค์และศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ถูกสร้างขึ้นโดยจำลองรูปแบบของหมู่บ้าน "เมืองลีเจียง" ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่ตั้งอยู่ในสาธาราณรัฐประชาชนจีน โดยภายในหมู่บ้านมังกรสวรรค์จะมีร้านค้า ขายอาหารและของฝากแก่นักท่องเที่ยว

        พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณอุทยานมังกรสวรรค์และศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้อง มีแสงสีเสียงการบรรยายที่น่าชม

แก้ไขเมื่อ

2023-10-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร