เมืองเก่าสุพรรณบุรี


ละติจูด 14.478363 , ลองจิจูด 100.11098

พิกัด

ตำบลรั้วใหญ่ อำเภออำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

จากการสํารวจทางโบราณคดีบริเวณเมืองเก่าสุพรรณบุรีได้พบหลักฐานที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณวัดราชเดชะ (ร้าง) ใกล้กับวัดพระลอย โดยร่องรอยชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนในยุคโลหะที่มีอายุราว 2,000 ปีมาแล้ว แต่พบว่าในช่วงที่ดินแดนในแถบนี้ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมทวารวดีและขอมนั้น หลักฐานทางโบราณคดีกลับชี้ไปที่เมืองโบราณอู่ทองเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าเมืองเก่าสุพรรณบุรีนั้นน่าจะเกิดขึ้นภายหลังเมืองโบราณอู่ทอง ในสมัยสุโขทัยนั้นได้ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรี ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช (ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 20-21) ต่อมาเมืองเก่าสุพรรณบุรีได้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าอู่ทองซึ่งครองเมืองอู่ทองได้ตั้งตนเป็นอิสระจากอํานาจทางการเมืองของสุโขทัย โดยพระเจ้าอู่ทรงเป็นพระราชบุตรเขยของเจ้าเมืองสุพรรณภูมิ และในภายหลังเมื่อกรุงศรีอยุธยาได้รวมกันกับสุพรรณบุรีแล้ว ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสันนิษฐานว่ามีการย้ายเมืองมาอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรีและรื้อกําแพงเมืองในฝั่งตะวันออกลงทั้งหมด เพื่อไม่ให้พม่าใช้เป็นสิ่งป้องกันเมื่อกรุงศรีอยุธยายกเข้าสู่เมืองสุพรรณบุรี ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมืองสุพรรณบุรีกลายสภาพเป็นเมืองร้างตลอดสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มมีการตั้งชุมชนในบริเวณเมืองเก่าสุพรรณบุรีใกล้กับวัดสําคัญต่าง ๆ โดยปรากฏหลักฐานในนิราศสุพรรณบุรีของ สุนทรภู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 การอยู่อาศัยในบริเวณเมืองเก่าสุพรรณบุรีน่าจะมีความเป็นบ้านเมืองมากขึ้น ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยจัดการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยให้เมืองสุพรรณบุรีรวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี รัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิรูป การปกครองอีกครั้ง โดยยกฐานะเมืองสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดสุพรรณบุรีมาจนถึงปัจจุบัน เมืองเก่า สุพรรณบุรีจึงอยู่ในพื้นที่ตําบลรั้วใหญ่ และตําบลท่าพี่เลี้ยงในเขตอําเภอเมืองสุพรรณบุรีมาจนถึงปัจจุบัน ในเมืองเก่าสุพรรณบุรีปรากฏสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture) ประเภทบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเก่าแก่หลายแห่ง ทั้งที่เป็นเรือนไทย อาทิ บ้านยะมะรัชโช และที่เป็นเรือนไม้ ที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม (Colonial Style) อาทิ บ้านขุนสุนทรธนบาล โรงงานทํา น้ำมะเน็ต นอกจากนี้ยังมีอาคารซึ่งได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมโมเดิร์น (Modern Architecture) ได้แก่ กลุ่มอาคารในบริเวณตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ภายในเมืองเก่าสุพรรณบุรียังมีแหล่งศิลปกรรมสําคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัดกุฎีทอง วัดชายทุ่ง วัดกงจักร วัดไทรย์ วัดศรีบัวบาน วัดปราสาททอง วัดพระรูป วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร วัดสุวรรณภูมิ วัดประตูสาร วัดไชยนาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดแค วัดโพธิ์คลาน วัดสารภี วัดลาวทอง วัดพระลอย วัดหน่อพุทธางกูร วัดจําปา (ร้าง) วัดหอยโข่ง (ร้าง) วัดเจดีย์ยอดเหล็ก (ร้าง) วัดเถลไถล (ร้าง) วัดช่องลม (ร้าง) วัดพึ่ง (ร้าง) วัดโหน่งเหน่ง (ร้าง) วัดกุฎีสงฆ์ (ร้าง) วัดพระอินทร์ (ร้าง) รวมทั้งมีศาลเจ้าพ่อ หลักเมืองอยู่ด้วย แหล่งศิลปกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่แสดงเอกลักษณ์ของภาคกลางไว้ได้อย่างชัดเจน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558

แก้ไขเมื่อ

2018-11-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร