อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐฯ


ละติจูด 7.5538086229 , ลองจิจูด 99.6086883283

พิกัด

ตำบลทับเที่ยง อำเภออำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

                              อนุสาวรีย์พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

       อยู่ในบริเวณสวนสาธารณะเขตเทศบาลเมืองตรัง ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เส้นทางถนนตรัง-พัทลุง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้สร้างความเจริญแก่จังหวัดตรังเป็นอย่างมาก เช่น การคมนาคม เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ การศึกษา การปกครอง และเป็นผู้นำต้นยางต้นแรกมาปลูกในจังหวัดตรัง จนแพร่หลายไปทั่วภาคใต้

ประวัติพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

       พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)  8 เมษายน พ.ศ. 2400 – 10 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นข้าราชการชาวไทย ระหว่างเป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมือเกษตรกรรม จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต และเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ระนอง  คอซิมบี๊ ณ ระนอง เกิดที่จังหวัดระนองเมื่อวันพุธ เดือนห้า ปีมะเส็ง ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2400เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และนางกิม ชื่อ "ซิมบี๊" เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า "ผู้มีจิตใจดีงาม"

       เมื่ออายุได้ 9 ปี ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่ลงลายมือชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา บิดาจึงหวังจะให้สืบทอดกิจการการค้าแทนตน มิได้ประสงค์จะให้รับราชการเลยเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ต่อมา ได้เลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ บรรดาศักดิ์ พระอัษฎงคตทิศรักษา แล้วได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี

       ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ทั้งนี้เนื่องจากราษฎรชาวตรังได้ยื่นฎีกาถวายความว่าเจ้าเมืองตรังคนก่อน (พระยาตรังคภูมิภาบาล (เอี่ยม ณ นคร)) กดขี่ข่มเหงราษฎรทั้งที่สภาพเศรษฐกิจไม่ดีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบันในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้จัดตั้งกองโปลิศภูธรขึ้นแล้วซื้อเรือกลไฟไว้เป็นพาหนะตรวจลาดตระเวน บังคับให้ทุกบ้านเรือนต้องมีเกราะตีเตือนภัยไว้หน้าบ้าน หากบ้านใดได้ยินเสียงเกราะแล้วไม่ตีรับจะมีโทษ เป็นต้นพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456 ณ บ้านจักรพงษ์ ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกคนสนิทยิงพร้อมกับพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) หลานชาย ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 สิริอายุได้ 56 ปีปัจจุบัน อนุสาวรีย์ของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองตรัง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

       เนื่องด้วยบริเวณอนุสาวรีย์ฯ ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่ประชาชน เข้ามาเคารพสักการะฯจำนวนมากและเป็นสถานที่พักผ่อน  สถานที่ออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่น มีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก บริเวณโดยรอบมีการจารจรค่อนข้างคับคั่งเนื่องจากเป็นวงเวียน

แก้ไขเมื่อ

2020-11-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร