ละติจูด 7.4112307832 , ลองจิจูด 99.5123783959
พิกัด
ตำบลกันตัง อำเภออำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92110
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
ย่านชุมชนเก่า
ความสำคัญ/ลักษณะ
ชุมชนรอบทางรถไฟ ชุมชนตลาด/การค้า อาคารเรือนแถวไม้สองชั้น ตั้งเรียงตัวติดถนน 4 ช่องทาง เป็นแบบผสมผสานของการตกแต่งอาคารหลายรูปแบบ ตั้งอยู่ในเมือง
อดีตกันตังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งมหาสมุทรอินเดียเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำสำคัญมาแต่โบราณ เมื่อพระยารัษฎาฯมารับตำแหน่งเจ้าเมืองตรังใน พ.ศ. 2433 ได้ดำเนินการพัฒนาเมืองตรัง (เมืองกันตังในขณะนั้น) ทุกด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เป็นเมืองค้าขายและกันตังในยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ทั้งอาคารไม้อาคารคอนกรีตมากมาย สำหรับตัวอย่างอาคารที่ได้ทำการสำรวจรังวัดใน “เมืองกันตัง” ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่
1. “ร้านขนมจีนจีนุ้ย” บนถนนรัษฎา ริมท่าเรือกันตังเป็นเรือนแถวไม้ที่เป็นบ้านยาวถึง 112 เมตร หน้ากว้าง 4 เมตรติดกัน 2 คูหาซึ่งหาได้ยากมาก ในตรังพบแค่ที่อำเภอห้วยยอด และที่อำเภอกันตังเท่านั้นเดิมใช้หลังคาแผ่นซีเมนต์ แต่ภายหลังซ่อมแซมไปแล้วแต่อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมค่อนข้างมากทราบมาว่าปัจจุบันเจ้าของประกาศขายแล้วเพราะไม่น่าจะซ่อมไหว
2. “สถานีรถไฟกันตัง” ซึ่งมีอายุถึง 100 ปีและได้รับการซ่อมแซมไปแล้วแต่น่าเสียดายที่วัสดุบางอย่างถูกเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผ่นกระเบื้องหลังคาเดิมเป็นกระเบื้องซีเมนต์ทรงว่าวเป็นการหล่อซีเมนต์ผสมทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนวางซ้อนเป็นเกล็ดปลาแต่ของใหม่ใช้กระเบื้องซีเมนต์ตัดเป็นแผ่นมาซ้อน ทำให้ผิวเท่ากันหมดราบเรียบ เพราะมีขนาดบางมากเพียง 0.5 เซนติเมตร ต่างจากของดั้งเดิมที่หนาถึง 0.5 นิ้ว
3. “ตึกแถวจีนทางเข้าสถานีรถไฟกันตัง” คนเข้าใจผิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโนโปรตุกีส” แต่ที่จริง เป็นตึกแถวจีนในยุคแรกๆปัจจุบันมีเจ้าของเดียวแต่ปล่อยเช่า รวม 17 คูหาเจ้าของอาคารก็ยังพักอาศัยอยู่ด้วยสร้างโดยกลุ่มคนจีนที่อพยพมาจากปีนังในยุคเหมืองแร่และมีการทำท่าเรือเพื่อส่งออกแร่ดีบุก
4. “ศาลเจ้าฮกเกี้ยนกงก้วน” อายุ 119 ปีตามคำบันทึกแต่สภาพจริงได้มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงไปจากวัสดุที่เปลี่ยนไปเช่นราวระเบียงเปลี่ยนเป็นซีเมนต์ไปแล้ว
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
พบว่าปัจจุบัน ตลาดอำเภอกันตัง ไม่ได้เป็นศูนย์การค้าขายเหมือนในอดีต ท่าเทียบเรือมีเฉพาะการขนส่งเฉพาะสินค้าบางประเภท การข้ามฝากซึ่งในอดีตใช้แพขนานยนต์ปัจจุบันผู้คนเปลี่ยนไปสัญจรทางถนนมากขึ้น เส้นทางคมนาคมที่สะดวก ผู้คน เดินทางไปจับจ่ายทำธุรกิจ ในตัวเมืองตรังมากขึ้นเมืองกันตังไม่ได้คึกคักเหมือนก่อนแต่ มีอาคารที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่นี้ควรที่จะได้รับการดูแล บูรณะในส่วนที่ชำรุด บางอาคารมีการต่อเติมเป็นที่เลี้ยงนกนางแอ่น ซึ่งในพื้นที่ตลาดก็มีการรวมกลุ่มกันของประชาชนในการดูแลและอนุรักษ์อาคารเก่า
แก้ไขเมื่อ
2020-11-03
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|