สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง


ละติจูด 8.147921024 , ลองจิจูด 99.8821320202

พิกัด

ตำบลควนเกย อำเภออำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง ตั้งอยู่ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 เพื่อเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ และใช้เป็นสถานีเติมน้ำและฟืนสำหรับรถจักรไอน้ำจนถึงปี พ.ศ. 2525 เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำ เดิมเรียกว่าสถานีรถไฟสามแยกนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองตามคำแนะนำของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ปัจจุบัน สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นสถานีชั้น 2 ภายในย่านสถานีประกอบด้วยอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม คือ อาคารสถานีรถไฟ หอสัญญาณประแจกล บ้านพักพนักงานการรถไฟ อาคารที่ทำการแขวงบำรุงทาง และห้องแถวไม้ให้เช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของสถานีรถไฟยังมีชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมตั้งอยู่ด้วยอาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังคาแฝดวางขนานไปกับทางรถไฟประกอบด้วยส่วนสถานี และส่วนชานชาลา ผังพื้นส่วนสถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ช่วงเสา ยาว 5 ช่วงเสา ประกอบด้วยห้องควบคุมการเดินรถ ห้องทำงานนายสถานี ห้องขายตั๋ว และโถงพักคอย หลังคาส่วนสถานีเป็นหลังคาจั่วผสมปั้นหยา ส่วนชานชาลาเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายกับอาคารสถานีรถไฟกันตังอาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเนื่องจากได้รับการออกแบบที่สอดคล้องกับการใช้สอยและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย รวมทั้งความงามที่มีการผสมผสานศิลปะแบบตะวันตก โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดูแลรักษาอาคารสถานีรถไฟให้อยู่ในสภาพที่ดี และยังคงบทบาทสำคัญในการรองรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2018-09-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -