ละติจูด 6.88053 , ลองจิจูด 101.257835
พิกัด
ตำบลบานา อำเภออำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์
ความสำคัญ/ลักษณะ
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนและบ้านเมืองโบราณในจังหวัดปัตตานีมีการเจริญขึ้นของบ้านเมืองตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และก็มีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน “เมืองยะรัง” คือหลักฐานที่เด่นชัดของการเจริญขึ้นของบ้านเมืองในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้น ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านเมืองที่เรียกว่าหลังยาซูว หรือ ลังกาสุกะ ที่ยะรังมีเมืองโบราณย่อย ๆ ๓ เมือง ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน คือ บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านประแว จากการดำเนินงานสำรวจและขุดค้น/ขุดแต่งของกรมศิลปากรก็ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดี และศิลปกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในด้านศาสนาที่มีทั้งการเจริญขึ้นของพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู อันสอดคล้องกับบทบาทของลังกาสุกะในฐานะเมืองท่าค้าขายสมัยโบราณในช่วงที่เรียกว่าสมัยศรีวิชัย ต่อมาเมื่อสภาพทางภูมิศาสตร์บริเวณอ่าวปัตตานีเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองยะรังหมดความสำคัญลง จึงมีการสร้างเมืองใหม่ที่ “กรือเซะ-บานา” โดยยังคงมีบทบาททางเศรษฐกิจในการเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้า อันตรงกับช่วงสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๓ สถานีการค้าของต่างชาติต่างเข้ามาตั้งอยู่ที่เมืองปัตตานี ซึ่งช่วงเวลานี้เจ้าเมืองและประชาชนส่วนใหญ่ต่างหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยมี “มัสยิดกรือเซะ” เป็นศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องมุสลิม อย่างไรก็ตาม ในช่วงสมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปัตตานีก็มีปัญหาขัดแย้งกับทางกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานครเสมอ ๆ จนนำมาสู่การย้ายเมืองอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๘๘ –๒๓๙๙ เมืองเก่าที่ “จะบังติกอ” จึงถูกสร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำปัตตานีในเขตเทศบาลเมืองปัจจุบัน เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของดินแดนแถบนี้ ทั้งเจ้าเมือง พ่อค้า และประชาชนทั่วไปต่างย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้ โดยมี “มัสยิดกลาง” ที่เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เป็นศาสนสถานหลักของชาวมุสลิม ขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีนมี “ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” เป็นที่เคารพสักการะ และทั้งสองแห่งนี้รวมทั้งมัสยิดกรือเซะก็ถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดปัตตานีนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมมีทั้งโบราณสถานที่เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม และพุทธศาสนา ศิลปกรรมรัตนโกสินทร์ คือ วังจะบังติกอ มัสยิดกลางปัตตานี และศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว โบราณสถานในเขตเมืองเก่าปัตตานี ได้แก่ ตึกขาว หรือตึกเดชะปัตตนายากูล และ วังจะบังติกอ องค์ประกอบเมืองเก่า องค์ประกอบเมืองเก่าปัตตานีแบ่งได้ดังนี้ คือ วัง ได้แก่ วังจะบังติกอ ๕.๒.๒ วัดและศาสนสถาน ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และมัสยิดกลางปัตตานี ตลาด ย่านการค้า ชุมชน เมืองปัตตานี มีประชากรเข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น พ่อค้านักธุรกิจชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายกับปัตตานีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนนั้นเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด บริเวณที่ชาวจีนมาสร้างบ้านเรือนจึงเรียกว่า “หมู่บ้านชาวจีน” หรือ “ตลาดจีน” ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานี บริเวณที่เรียกว่า “หัวตลาด”
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าปัตตานี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558
แก้ไขเมื่อ
2018-11-16
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|