เมืองเก่าตะกั่วป่า


ละติจูด 8.829526 , ลองจิจูด 98.364883

พิกัด

ตำบลตะกั่วป่า อำเภออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รหัสไปรษณีย์ 82110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

ตะกั่วป่าหรือตะโกลา เป็นชุมชนที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งถิ่นฐานบริเวณริมแม่น้ำตะกั่วป่าในฐานะที่เป็นเมืองท่าจอดเรือและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนค้าขายของชนหลายชาติ นักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า ชุมชนตะกั่วป่าโบราณ หรือเมืองตะโกลา เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปี กล่าวคือ ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ในแคว้นกลิงคราฐ ได้อพยพหนีภัยสงครามไปตั้งชุมชนขึ้นตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในคาบสมุทรมลายู รวมทั้งชุมชนตะกั่วป่าโบราณที่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 บริเวณบ้านทุ่งตึกและปลายคลองเหมือง (หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขาอำภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในปัจจุบัน) มีการขุดค้นพบหลักฐานหลายอย่าง เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาถ้วยชาม เครื่องมือเครื่องใช้ และรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ เมืองตะโกลาจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายของหลายชนชาติ เช่น อินเดีย จีน อาหรับ เปอร์เซีย ฯลฯ การตั้งถิ่นฐานของคนไทยยุคแรกเริ่มที่นี่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อขุดหาแร่ดีบุกมีชื่อเรียกว่า "ตะกั่วป่า" สันนิษฐานว่าชื่อเมืองตะโกลาถูกเรียกตามสำเนียงไทยว่า เมืองตะกั่วป่าซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2181-2193) ส่วนในสมัยกรุงธนบุรี มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองตะกั่วป่ามีเจ้าเมืองหรือผู้รักษาราชการตลอดมา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เกิดสงครามเก้าทัพ พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ ตีได้เมืองชุมพรไชยา นครศรีธรรมราช และตะกั่วป่า ปี พ.ศ. 2352 พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้อีก เมืองตะกั่วป่าสมัยนั้นตั้งเมืองอยู่ที่บ้านตะกั่วป่า (หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า ในปัจจุบัน) เจ้าเมืองตะกั่วป่าในครั้งนั้นชื่อ พระยาตะกั่วป่า (อู) เมืองตะกั่วป่าถูกพม่าทำลายจนยับเยิน ผู้คนได้อพยพหนีเข้าป่า และอีกส่วนหนึ่งหนีไปอยู่บริเวณปากแม่น้ำพังงา (เมืองพังงาในปัจจุบัน) จึงทำให้เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองร้างในที่สุดต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูเมืองเนื่องจากเมืองชายฝั่งทะเลเป็นเสมือนชายแดนประเทศ หากปล่อยให้ร้างเป็นเวลานานอาจเกิดอันตรายต่อประเทศได้ จึงก่อตั้งเมืองขึ้นมาอีกครั้งบริเวณบ้านตลาดใหญ่ การสร้างเมืองใหม่เริ่มจากการสร้างวัดขึ้น ปัจจุบันเรียกว่า วัดหน้าเมือง ก่อนจะสร้างจวนเจ้าเมืองในบริเวณใกล้ ๆ กัน นอกจากนี้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตลาดเก่าถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการก่อตั้งเมือง เนื่องจากมีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน และทิศตะวันตกมีภูเขาสามารถป้องกันตัวเมืองได้ดีกล่าวคือ การคมนาคม การค้าขาย และยุทธภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งถิ่นฐานของเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วป่ามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจากการขุดหาแร่ได้เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมืองตะกั่วป่าถูกจัดฐานะเป็นจังหวัด ประกอบด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี และอำเภอกะปงจนกระทั่งปี พ.ศ. 2456 ได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งที่บ้านย่านยาว ตำบลตะกั่วป่า คือ อำเภอตะกั่วป่าปัจจุบันและเป็นใจกลางความเจริญของเมืองตะกั่วป่ามาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินไม่สามารถเดินเรือได้เช่นเดิม ทำให้ความสำคัญของบ้านตลาดใหญ่หมดความสำคัญลงไปในพื้นที่เมืองตะกั่วป่าไม่มีป้อม คูเมือง และกำแพงเมืองที่ปรากฏหลักฐานให้เห็นชัดเจน มีเพียงแม่น้ำตะกั่วป่าที่กั้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีคลองบางม่วงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตะกั่วป่าจากด้านทิศตะวันตก เป็นปราการธรรมชาติทำหน้าที่กั้นตัวเมืองไว้เกือบรอบด้าน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าตะกั่วป่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558

แก้ไขเมื่อ

2018-11-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร