ละติจูด 7.6155374056 , ลองจิจูด 100.148220673
พิกัด
ดยางงาม. ต.ลำปำ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง 93000. ตำบลลำปำ อำเภออำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดยางงามเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นภายในวัดมีโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่1. อุโบสถ มีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ อุโบสถเป็นอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน ภายในอุโบสถ มีพระประธานปูนปั้นแบบทรงเครื่องใหญ่ ปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ด้านหน้าพระประธานมีพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามญาติ 2 องค์ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือเพดานอุโบสถซึ่งเขียนภาพจิตรกรรมลายทองรูปดอกไม้สลับรูปลายไก่ฟ้า ส่วนใหญ่ของภาพกำลังกลเกลื่อนมากแล้ว2. พระพุทธรูปหินอ่อน เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากหินอ่อนปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แบบศิลปะพม่า
เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ตามประวัติกล่าวว่าผู้สร้างวัดนี้คือ จอมแพ่งและจอมจ่า แต่ไม่ได้ระบุศักราชไว้ อย่างไรก็ตาม ทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุง ได้ระบุว่าวัดนี้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2348
ตามประวัติกล่าวว่าผู้สร้างวัดนี้คือ จอมแพ่งและจอมจ่า แต่ไม่ได้ระบุศักราชไว้ อย่างไรก็ตาม ทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุง ได้ระบุว่าวัดนี้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2348 ผู้สร้าง คือพ่อจอมเสนี การสร้างวัดยางงามได้อาศัยนักโทษที่คุมขังอยู่ในคุกเมืองพัทลุงมาช่วยกันสร้าง จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าจอมแพ่งและจอมจ่าอาจเป็นผู้คุมนักโทษหรือพัสดีเรือนจำก็ได้ วัดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2412 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและประกาศเขตโบราณสถาน มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เมื่อ พ.ศ. 2528
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
อุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบบันไดทางขึ้นอุโบสถมี 2 ทาง เป็นบันไดนาคฐานอุโบสถเดิมเป็นเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นฐานเขียงรอบฐานไพทีหรือฐานเสาพาไล มีเสากลมก่ออิฐถือปูนรองรับน้ำหนักปีกชายคาจำนวน 22 เสา ด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 5 เสาด้านข้างด้านละ 6 เสา และยอดเสามีลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัวสวยงามปลายเสา มีคันทวยจำหลักไม้ลายกนกรูปนาคประตูอุโบสถด้านหน้ามี 2 ประตูเหนือขอบประตูและหน้าต่างมีลายปูนปั้นรูปดอกพุดตานรูปสัตว์พรรณพฤกษา หน้าบันอุโบสถจำหลักไม้ฝีมือท่านธรรมกิจกับจอมเสนีย์ด้านหน้าและนางเมขลาล่อแก้ว แต่ชำรุดมากแล้ว ด้านหลังจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ด้านล่างเป็นรูปราหูสองข้างเป็นลายกระหนกก้านแย่งรูปยักษ์ประดับด้วยกระจกสีลงลักสักปิดทอง
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ลักษณะพระพักตร์พระพุทธรูปเป็นเช่นเดียวกับพระพักตร์พระนารายณ์จำหลักที่หน้าบัน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างคนเดียวกัน ด้านหน้าพระประธานประทับยืนปางห้ามญาติ 2 องค์และพระพุทธรูปหินอ่อนปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรศิลปะพม่า มีจารึกเขียนว่าหนูซังผู้สร้างศก 127 (พ.ศ.2451) ขนาดสูง 71 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 50.50 เซนติเมตร
แก้ไขเมื่อ
2022-03-03
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|