พลับพลาที่ประทับ ร.4 (ศาลาวิหารแดง)


ละติจูด 7.209855 , ลองจิจูด 100.588558

พิกัด

บันไดนาคฝั่งทิศตะวันตกบริเวณทางขึ้นเขาตังกวน ตำบลบ่อยาง อำเภออำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ศาลาวิหารแดง หรือพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) ตั้งอยู่บนยอดเขาชั้นที่ ๒ ประวัติการก่อสร้างศาลาพระวิหารแดง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) มีพระราชดำริให้สร้างพลับพลาเป็นที่ประทับแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาลของพระองค์คงสร้างค้างคาอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสภาคใต้และแหลมมลายู เมื่อมาถึงเมืองสงขลาได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวน มีพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาพระวิหารซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริไว้จนสำเร็จ ในเวลาต่อมายังทรงพระราชดำริให้สร้างบันไดนาคขึ้นจากพลับพลาสำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พลับพลาที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หันหน้าพลับพลาไปด้านเชิงเขาด้านหนึ่งของเขาตังกวน เป็นบริเวณที่วิวเปิดเห็นทิวทัศน์เมืองสงจลาได้ไกลมีความสวยงามมาก ภายในศาลาพระวิหารแดงมีเสาและช่องทางเดินทะลุถึงกัน แต่ละช่องจะมีขนาดเท่ากันและเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งสามารถมองจากด้านหนึ่งก็จะเห็นทะลุไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง ด้านหลังของวิหารแดงเป็นบันไดนาคทางขึ้นเขาตังกวน ช่องด้านหน้าเป็นทางเดินลงไปเชิงเขาโดยทางบันได

 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๘ ในประกาศเรียกชื่อโบราณสถานนี้ว่า " พระเจดีย์และพลับพลาที่ประทับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บนเขาตังกวน"

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 
มีป้ายแสดงประวัติความเป็นมาอย่างเด่นชัด
มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอ

แก้ไขเมื่อ

2021-05-13

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร