อาคารสถานีรถไฟสงขลา


ละติจูด 7.2011810018 , ลองจิจูด 100.593653984

พิกัด

ตำบลบ่อยาง อำเภออำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

อาคารสถานีรถไฟสงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟในทางรถไฟสายใต้ (ทางรถไฟสายสงขลา) ยกเลิกการใช้งานไปแล้วตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ปัจจุบันได้ประกาศขึ้นทะเบียนอาคาร สถานที่เป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรแล้ว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ลักษณะอาคารก่ออิฐรับน้ำหนักถือปูนชั้นเดียวตั้งอยู่บนฐานคอนกรีต ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางขนานไปกับรางรถไฟ ผังพื้นอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสถานีและส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง หลังคาเป็นหลังคาจั่วผสมปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ ช่วงกลางด้านหน้ามีมุข โถงยื่นออกไปและมีทางลาดสําหรับขึ้นลง หลังจากยกเลิกการใช้งานบริษัท มิตรทอง ได้เช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยใช้ด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟซึ่งเคยเป็นย่านสถานีสำหรับจอดรถบรรทุกขนส่งสินค้า และลานด้านหลังอาคารสถานีรถไฟเป็นตลาด และได้ใช้พื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นสำนักงานด้วยจนถึงปัจจุบัน ส่วนรางรถไฟด้านหน้าอาคาร และป้ายสถานี (ป้ายประเพณี) 2 แห่ง ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ยังอยู่ในสภาพเดิม ตำแหน่งเดิม โดยป้ายด้านเหนืออยู่กลางแจ้ง ส่วนป้ายด้านใต้ ปัจจุบันเอกชนที่เช่าพื้นที่ได้สร้างโกดังเก็บสินค้าคร่อมป้ายไว้อาคารสถานีรถไฟสงขลาเป็นอาคารก่ออิฐรับน้ำหนักถือปูนชั้นเดียวตั้งอยู่บนฐานคอนกรีต ลักษณะผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางขนานไปกับรางรถไฟผังพื้นอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสถานีและส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง ผังพื้นส่วนสถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ช่วงเสา (7.20เมตร) ยาว 7 ช่วงเสา (41.30 เมตร) หลังคาเป็นหลังคาจั่วผสมปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ ช่วงกลางด้านหน้ามีมุขโถงยื่นออกไปและมีทางลาดสำหรับขึ้นลง หลังคาเป็นหลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว ผังส่วนชานชาลาเป็นลานโล่งขนานไปกับส่วนสถานี หลังคาเป็นหลังคาจั่วโครงสร้างเหล็กมุงด้วยสังกะสี จากแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมระบุว่าด้านซ้ายสุดของส่วนสถานีเป็นโถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 3 (3rd Class Booking Hall) ถัดมาเป็นห้องทำงาน (Parcels Office) และห้องขายตั๋ว (Ticket Office) ช่วงกลางอาคารเป็นโถงทางเข้า (Portico) และโถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 1 และ 2 (1st and 2nd ClassBooking Hall) ช่วงถัดมาเป็นห้องพักคอยผู้โดยสารชั้น 1 (1st Class WaitingRoom) และห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับการเดินรถ (Traffic Store Room) จำนวน2 ห้อง ช่วงถัดมาเป็นห้องรับฝากของ (Cloak Room) ช่วงริมขวาสุดเป็นห้องทำงานผู้ควบคุมการเดินรถ (Running Room Railway Officials) ปัจจุบันพื้นที่โถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 3 ใช้เป็นร้านขายเครื่องดื่ม พื้นที่ชานชาลาใช้เป็นที่จอดรถจักรยานยนต์ และห้องอื่นๆ ใช้เป็นสำนักงานของบริษัทมิตรทอง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-04-02

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร