ละติจูด 7.194849983 , ลองจิจูด 100.592307983
พิกัด
ตำบลบ่อยาง อำเภออำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา มีอายุกว่า 400 ปี สร้างเมื่อสมัยตอนปลายอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ กล่าวกันว่ายายศรีจันทร์คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมามีผู้สร้างวัดเลียบทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า "วัดกลาง" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมัชฌิมาวาส" โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสคราวเสด็จเมืองสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2431 ในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขาแดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก ซุ้มประตู เป็นศิลปะจีนกับยุโรป นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศิลปจัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งรวบรวมได้จากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด และ อื่นๆ ของทางภาคใต้ไว้อีกมาก เป็นหลักฐาน ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
และยังมีข้อมูลจารึกศาลาฤาษีดัดตน ที่วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อำเภอเมือง ฯ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๐ - ๒๔๐๘ เป็นผู้สร้างขึ้น ที่ฝาผนังด้านข้างมีจิตรกรรมเขียนตำราแพทย์แผนโบราณ และภาพฤาษีดัดตน รวม ๔๐ ท่า แต่ละท่ามีจารึกเป็นคำโคลงสี่สุภาพอธิบาย คำโคลงเหล่านี้เลือกคัดลอกมาจากเรื่องโคลงภาพฤาษีดัดตน ที่จารึกไว้บนผนังศาลารายในวัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ
“ศาลาฤๅษี” หรือ “ศาลาฤาษีดัดตน” คล้ายกับที่วัดโพธิ์ เป็นศาลาทรงไทย มีสัดส่วนถูกต้องทรวดทรงหลังคาอ่อนช้อย ก่ออิฐถือปูน หน้าบันเป็นรูปปั้นเรื่องพุทธประวัติ ด้านตะวันออกเป็นภาพตอนพระสิทธัตถะทรงลอยถาด ด้านตะวันตกเป็นภาพนางสุชาดาถวายมธุปายาสแก่พระสิทธัตถะ ภายในศาลาฤๅษีที่หน้าบันทั้ง 2 ด้านจารึกเรื่องตำรายา และจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปฤๅษีดัดตน จำนวน 40 ตน แต่ละตนมีคำโคลงบรรยายประกอบรูป เขียนเสร็จเมื่อ พ.ศ.2406
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2019-04-03
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|