ละติจูด 7.201829 , ลองจิจูด 100.590534
พิกัด
ตำบลบ่อยาง อำเภออำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์
ความสำคัญ/ลักษณะ
เมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์สูงสุดเมืองหนึ่ง ตั้งแต่สมัยอยุธยา สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสงขลาระยะแรกตั้งอยู่ที่บริเวณหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่บนที่ราบสันทรายเก่า ปรากฏชื่อมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราชมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น โดยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 เมือง สงขลามีความสำคัญเป็นเมืองท่าเป็นที่รู้จักกันดีในด้านการทูตและด้านการค้าพาณิชย์นาวีกับยุโรปและเอเชีย ในปี พ.ศ.2165 มีเจ้าเมืองนับถือศาสนาอิสลาม คือ ดาโต๊ะ โมกอลล์ ต่อมาสุลต่านสุลัยมานผู้เป็นบุตรขึ้นปกครอง ในปี พ.ศ. 2185 และตั้งตนแข็งเมืองต่ออยุธยา จนถึงรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์สามารถตีเมืองสงขลาได้ในปี พ.ศ.2223 และย้ายเมืองไปอยู่บริเวณแหลมสน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2375 รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองสงขลาจากฝั่งหัวเขาแดงมายังฝั่งบ่อยาง ก่อกำแพงเมืองและสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในปี พ.ศ.2385 และได้สืบเนื่องมาจนกลายเป็นเมืองสงขลาในปัจจุบัน มีแนวกำแพงเมืองและคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปัจจุบันเหลือเพียงแนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือบางส่วน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองสงขลาที่บ้านบ่อยางครอบคลุมบริเวณด้านตะวันออก-ตก ยาวประมาณ 30 เส้น จากแนวด้านตะวันตกคือถนนนครนอก และแนวด้านตะวันออกคือถนนรามวิถี ด้านทิศเหนือ-ใต้ กว้างประมาณ 25 เส้นด้านเหนือคือแนวถนนจะนะ จากถนนตัดลงทะเลที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองไปจดแนวถนนรามวิถี และที่มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพง ยังมีหลักฐานถึงถนนแหลมทรายซึ่งปัจจุบันเรียกถนนสุขุม ตรงขึ้นไปยังเขาตังกวนอีกด้วย แนวกำแพงเมืองด้านใต้คือถนนกำแพงเพชร เมืองเก่าสงขลาฝั่งบ่อยาง มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ตามแนวถนนในเมืองเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในสมัยแรกสร้างเมืองในรัชกาลที่ 3 ความมีคุณค่าทางโครงสร้างและรูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวอาคารบริเวณนครนอก-นครใน มีความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติและแสดงพัฒนาการทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด เช่น รูปแบบทรงจีนโบราณดั้งเดิม และการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านล้วนแต่แสดงถึงภูมิปัญญา และฝีมือช่างในสมัยบรรพบุรุษอันควรภาคภูมิใจ รูปทรงแบบจีนผสมยุโรป หรือรูปทรงแบบยุโรปแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและอิทธิพลของชาวต่างชาติที่มีต่อการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมตั้งแต่รัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 7 ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบจีน ได้แก่ บ้านส่วนตัวของพระยาสุนทรารักษ์และบ้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นแบบไทย มุงกระเบื้องสงขลา ศาลเจ้า ศาลหลักเมือง วัดวาอารามแบบไทย สถาปัตยกรรมแบบอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับเมือง ได้แก่ กลุ่มอาคาร ศาลาที่ประทับบนเขาตังกวน เก๋งจีน ศาสนสถาน ได้แก่ วัดมัชฌิมาวาส วัดดอนรัก วัดดอนแย้ วัดยาง วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดเลียบ กลุ่มอาคาร ได้แก่ กลุ่มอาคาร-เจดีย์ บนเขาตังกวน บ้านพระยาสุนทรารักษ์พระตำหนักเขาน้อยเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าสงขลา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553
แก้ไขเมื่อ
2019-04-02
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|