แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเวาะ


ละติจูด 17.604204 , ลองจิจูด 100.050681

พิกัด

ตำบลทุ่งยั้ง อำเภออำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53210

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเงาะ เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยสันนิษฐานว่าเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย เหตุที่เรียกว่า เวียงเจ้าเงาะ เนื่องมาจากตำนานนิทานพื้นบ้าน เรื่องเจ้าเงาะกับนางรจนา กล่าวถึงตอนพระสังข์ตีคลี ปรากฏว่ามีหลุมเล็กๆ หลายหลุมบนลานหินศิลาแลง บริเวณหลังวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง รวมถึงภาพวาดเก่าๆ ในวิหารของวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ว่าเป็นภาพเรื่องราวของธิดาทั้งเจ็ดของท้าวสามล.เวียงเจ้าเงาะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบดินปนศิลาแลง บางตอนเป็นศิลาแลงล้วน ด้านทิศเหนือติดต่อกับหนองพระแลและหนองพระทัยซึ่งเป็นที่ลุ่ม ผังเมืองเป็นรูปไข่ มีคูเมือง 3 ชั้น กำแพงเจาะลงไปถึงคูเมืองชั้นที่ 3 มีคูน้ำล้อมรอบ คูเมืองชั้นนอกก่อด้วยศิลาแลง ชั้นสองก่อด้วยอิฐ ชั้นสามก็ด้วยศิลาแลง โบราณสถานที่พบในเวียง ได้แก่ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำทิพย์ 18 บ่อ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และคูเมืองเก่า 3 ชั้น โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ กำไลหิน โครงกระดูก แหวนสำริด แหวนหิน สร้อยทำจากลูกปัด ลูกปัดโบราณ ลูกปัดสำริด กลองมโหระทึกแขก กลองมโหระทึกละว้า พร้าสำริด มีดสำริด ถ้วยชามสังคโลก ภาชนะดินเผาไม่เคลือบ และภาชนะดินเผาเคลือบสี

 

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันคูเมืองส่วนที่ขุดลงไปในศิลาแลงบางตอนตื้นเขินมาก ส่วนคูเมืองด้านที่เป็นคันดินถูกราษฎรบุกรุกทำลาย พื้นที่ในบริเวณคูเมืองด้านในและในคูเมืองมีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นรก บางส่วนของพื้นที่ในบริเวณเวียงมีราษฎรจับจองปลูกพืชทำมาหากิน

แก้ไขเมื่อ

2019-01-29

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร