ถ้ำเขาคูหา


ละติจูด 7.4158284 , ลองจิจูด 100.3495758

พิกัด

ตำบลชุมพล อำเภออำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

ถ้ำเขาคูหา โบราณสถานคติตามไศวนิกายที่เก่าที่สุดในภาคใต้

กัลปนาเมืองพัทลุงและเพลาเมืองสทิงพระ ได้กล่าวถึงชื่อภูเขาโคหาย (โคหาหรือคูหา) จากหลักฐานที่ปรากฏในอาณาบริเวณนี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยเริ่มประวัติศาสตร์ กลุ่มชนบนภูเขาคูหา ได้รับอิทธิพลสมัยประวัติศาสตร์จากภายนอกสร้างศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูขึ้นบริเวณเขาคูหา และน่าจะเป็นศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย หรือการนับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ตามหลักฐานที่ปรากฏ คือ ศิวลึงค์และแท่นฐานเสียบศิวลึงค์ และพระอคัตยะซึ่ง
เป็นเทพเจ้าปางหนึ่งของพระศิวะที่เสวยพระชาติเป็นพระเทพครู เป็นเทพเจ้าที่นำอารยธรรมต่าง ๆ มาสู่อินเดียใต้ตามลัทธิไศวนิกาย

ชุมชนโบราณเขาคูหามีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขาที่เกิดจากการทับถมของหินกรวดมนและหินทราย มีสภาพเป็นเนินเขาลูกโดดเตี้ย ๆ เป็นที่ราบลุ่มนอกสันทราย มีอาณาบริเวณประมาณ ๒ ตารางกิโลเมตร ได้แก่ เขาพะโคะ เขาผี และเขาน้อย เนินเขามีความสูงไม่เกิน ๒๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งนาและป่าละเมาะอยู่ห่างจากแนวสันทรายประมาณ ๑ กิโลเมตร

ลักษณะของถ้ำดังกล่าว ไม่เคยพบถ้ำลักษณะนี้ในประเทศไทย ได้สัณนิษฐานว่าถ้ำคูหามีอายุระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒ - ๑๔ เป็นชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์ภาคใต้

มีพัง(สระ) สำคัญ มีน้ำขังเรียกว่า "พังตระ" เป็นพังรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๓๐๐ X ๓๐๐ เมตร เป็นพังขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในจังหวัดสงขลา

ลักษณะสำคัญเมื่อมองภาพถ่ายทางอากาศ เป็นทรงเรขาคณิตซึ่งพังดังกล่าวมีอายุมากกว่าพันปีแล้ว ..

นอกจากนี้ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระในจังหวัดสงขลายังมีร่องร่อยเรขาคณิตซึ่งเป็นลักษณะร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมากมายที่รอการสำรวจ

โดยมีร่องรอยชุมชนโบราณ 23 แห่งในจังหวัดสงขลา (ร่องรอยคูเมืองหรือกำแพงเมืองเหล่านี้เป็นชุมชนโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงรัตนโกสินทร์ และพบในสี่อำเภอ)

สำหรับถ้ำเขาคูหาตามคติขอมคือ ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวสถานที่ทำพิธี และเขตศาสนสถานจึงถือว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี เช่น การสรงน้ำรูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้ำที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ำเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้ นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้างสระน้ำและบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของคติขอม เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำ สำหรับชุมชน ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น

การสร้างศาสนสถานตามคติจึงเป็นภาระสำคัญของกษัตริย์หรือผู้ครองนคร ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้น เพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และอำนาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

สำรวจสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในพื้นที่ จว.สงขลา พ.ศ.2562
บริเวณถ้ำเขาคูหา 
พบว่า มีการตั้งพระพุทธรูปภายในถ้ำทดแทนศิวลึงค์เป็นรูปเคารพที่เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย 
และพบการทำป้ายตัวอักษรแบบลอยตัว บริเวณหน้าถ้ำอย่างเด่นชัด 
ความสำคัญของถ้ำคูหาเมื่อเวลาที่พราหมณ์ทำพิธีอภิเษกสรงน้ำศิวลึงค์ น้ำจะไหลลงร่องบนฐานโยนีออกไปตามรางยาว จากถ้ำ (ผู้ทำพิธีเป็นวรรณะพรามหณ์และกษัตริย์ เท่านั้น) กลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และตามคติความเชื่อแล้วการที่ศิวลึงค์ได้อยู่คู่กับโยนี จะก่อให้เกิดพลังแห่งการสร้างสรรค์และความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การติดต่อค้าขายทางทะเลกับชาวอินเดียทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อทางศาสนาจากพ่อค้าและนักบวช(พราหมณ์) ชาวอินเดีย ราวพุทธศตวรรษ 12-14 เป็นยุคเฟื่องฟูของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย

แก้ไขเมื่อ

2020-10-30

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร