บ้านพระยาคงคาธราธิบดี อดีตเจ้าเมืองกระบี่


ละติจูด 8.038113 , ลองจิจูด 98.897091

พิกัด

บ้าน แหลมโพธิ์ ตำบล ไสไทย อำเภอ เมือง จังหวัด กระบี่ พิกัด (UTM/ละติจูด) ๘ ํ๐๒'๑๗.๒"N ๙๘ ํ๕๓'๔๙"E ตำบลไสไทย อำเภออำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ รหัสไปรษณีย์ 81000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประเภทแหล่งศิลปกรรม สิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

 

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

 

เป็นบ้านพักอาศัยของอดีตเจ้าเมืองกระบี่ ชื่อพระยาคงคาธราธิบดี (พลอย) บุตรพระยาเสนานุชิต (นุช) ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กเวรศักดิ์ มหาดเล็กกระทรวงวัง ในปีพ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพนธิพยุหสงคราม เจ้าเมืองกระบี่ เป็นผู้ที่ย้ายเมืองกระบี่จากบ้านตลาดเก่ามาอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ ใกล้กับท่าเรือเพื่อให้สะดวกในการคมนาคมทางทะเล ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาคงคาธราธิบดี ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร (ต่อมาเป็นมณฑล    สุราษฎร์)

พระยาคงคาธราธิบดี เป็นนักบันทึกเหตุการณ์คนสำคัญคนหนึ่ง ท่านได้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างละเอียดในช่วงเวลาที่รับราชการ รวมถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน ในบันทึกตอนหนึ่งกล่าวถึงการเดินทางข้ามแหลมจากกระบี่ไปสุราษฎร์เพื่อไปรับเสด็จพระมาตุฉาฯ ซึ่งเสด็จประพาสเกาะพงัน (รศ.๑๒๔-๑๒๖) ว่า      การเดินทางลำบากมาก ต้องนั่งเรือ และขี่ช้างไปพักค้างแรมที่ต่าง ๆ กว่าจะถึงเกาะพงันต้องใช้เวลาหลายวัน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงพระยาคงคาธราธิบดี     ไว้ในหนังสือ“สาส์นสมเด็จ”ตอนหนึ่งว่า “....แต่บุตรพระยาเสนานุชิต(นุช) คนเล็กชื่อพลอยเป็นดีกว่าเพื่อน มาเติบโตเข้ารับราชการเมื่อหม่อมฉันว่ามหาดไทย ได้เป็นผู้ว่าเมืองกระบี่ก่อน แล้วย้ายไปเป็นผู้ว่าจังหวัดชุมพร”สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานทินนามว่าพระยาคงคาธราธิบดี (ทรงแปลงมาจากพระยาเคางะธราธิบดี) ต่อมาได้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพรอยู่จนเลิกมณฑลนั้น เดี๋ยวนี้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดกระบี่”(คณะทำงานกลุ่มเชื้อสายพระยานครศรีธรรมราช มปป. : www.3sakul.com)

พระยาคงคาธราธิบดี มีภรรยาคนแรก ชื่อคุณหญิงพร้อม ณ นคร ไม่มีบุตรด้วยกัน และถึงแก่กรรมในวัยอันมิควร ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีนาถให้สมรสกับคุณหญิงเสงี่ยม ณ นคร มีบุตรธิดาด้วยกัน ๖ คน เมื่อเกษียณอายุแล้ว ได้มามาทำสวนมะพร้าวที่บ้านแหลมโพธิ์จังหวัดกระบี่ และทำสวนยางพาราที่จังหวัดพังงา จนกระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรม ปีพ.ศ.๒๔๘๐ รวมอายุ ๖๘ ปี (คณะทำงานกลุ่มเชื้อสายพระยานครศรีธรรมราช. มปป. : www.3sakul.com) บ้านพระยาคงคาธราธิบดี จึงตกทอดมาสู่ลูกหลาน ช่วงหนึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของลูกชายคนโต คือนายแพรว ณ นคร แต่ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว

               บ้านหลังนี้สร้างประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ คือในช่วงประมาณปี พ.ศ.  ๒๔๕๐ ซึ่งพระยาคงคามาทำสวนมะพร้าว เป็นบ้านลำลองสำหรับอยู่อาศัยเพื่อที่จะสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ไม่ได้สร้างเนื่องจากพระยาคงคาเสียชีวิตก่อน  ลักษณะบ้านเป็นอาคารยกพื้นสูง วัสดุก่อสร้าง และเสาบ้านเป็นไม้ทั้งหลัง มีการว่าจ้างช่างชาวจีนจากเมืองจีนมาทำกระเบื้องมุงหลังคา ฐานเสาและเชิงบันไดหล่อปูน มีบันไดขึ้นลงทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ชั้นบนด้านหน้ามีระเบียงและลูกกรงไม้ หน้าต่างด้านในมีตาข่ายเหล็ก หน้าต่างด้านนอกและประตูทางเข้า-ออก บ้านเป็นบานเปิด-ปิด ๒ บาน ชั้นบนแบ่งเป็นห้องสำหรับพัก ๒ ห้อง ห้องพระ ๑ ห้อง และมีพื้นที่ว่าหน้าห้องนอนเป็นห้องรับแขก มีกูบช้าง และตะขอบังคับช้างซึ่งเคยใช้งานในอดีตตั้งโชว์ไว้ในห้องรับแขก ด้านหลังอาคารชั้นล่างมีทางเดินไปห้องครัวซึ่งจะแยกอยู่ต่างหาก และมีศาลาสำหรับรับประทานอาหาร สมัยนั้นไม่มีรถยนต์ การขนมะพร้าวต้องใช้วัวลากภาชนะสำหรับบรรทุกมะพร้าวทำด้วยเหล็กรูปทรงเป็นก้นกลมมลปากผายออกมีล้อไปตามรางเหล็กคล้ายภาชนะที่ขนแร่ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีคนเข้าไปขโมยรางเหล็กไปขาย ด้านหน้าบ้านริมทะเลจะมีเตาเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวส่งไปขายปีนัง และเป็นท่าเรือเนื่องจากสมัยนั้นใช้เส้นทางเรือติดต่อกับภายนอก

ประเภทแหล่งศิลปกรรม สิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

 

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

 

เป็นบ้านพักอาศัยของอดีตเจ้าเมืองกระบี่ ชื่อพระยาคงคาธราธิบดี (พลอย) บุตรพระยาเสนานุชิต (นุช) ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กเวรศักดิ์ มหาดเล็กกระทรวงวัง ในปีพ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพนธิพยุหสงคราม เจ้าเมืองกระบี่ เป็นผู้ที่ย้ายเมืองกระบี่จากบ้านตลาดเก่ามาอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ ใกล้กับท่าเรือเพื่อให้สะดวกในการคมนาคมทางทะเล ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาคงคาธราธิบดี ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร (ต่อมาเป็นมณฑล    สุราษฎร์)

พระยาคงคาธราธิบดี เป็นนักบันทึกเหตุการณ์คนสำคัญคนหนึ่ง ท่านได้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างละเอียดในช่วงเวลาที่รับราชการ รวมถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน ในบันทึกตอนหนึ่งกล่าวถึงการเดินทางข้ามแหลมจากกระบี่ไปสุราษฎร์เพื่อไปรับเสด็จพระมาตุฉาฯ ซึ่งเสด็จประพาสเกาะพงัน (รศ.๑๒๔-๑๒๖) ว่า      การเดินทางลำบากมาก ต้องนั่งเรือ และขี่ช้างไปพักค้างแรมที่ต่าง ๆ กว่าจะถึงเกาะพงันต้องใช้เวลาหลายวัน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงพระยาคงคาธราธิบดี     ไว้ในหนังสือ“สาส์นสมเด็จ”ตอนหนึ่งว่า “....แต่บุตรพระยาเสนานุชิต(นุช) คนเล็กชื่อพลอยเป็นดีกว่าเพื่อน มาเติบโตเข้ารับราชการเมื่อหม่อมฉันว่ามหาดไทย ได้เป็นผู้ว่าเมืองกระบี่ก่อน แล้วย้ายไปเป็นผู้ว่าจังหวัดชุมพร”สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานทินนามว่าพระยาคงคาธราธิบดี (ทรงแปลงมาจากพระยาเคางะธราธิบดี) ต่อมาได้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพรอยู่จนเลิกมณฑลนั้น เดี๋ยวนี้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดกระบี่”(คณะทำงานกลุ่มเชื้อสายพระยานครศรีธรรมราช มปป. : www.3sakul.com)

พระยาคงคาธราธิบดี มีภรรยาคนแรก ชื่อคุณหญิงพร้อม ณ นคร ไม่มีบุตรด้วยกัน และถึงแก่กรรมในวัยอันมิควร ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีนาถให้สมรสกับคุณหญิงเสงี่ยม ณ นคร มีบุตรธิดาด้วยกัน ๖ คน เมื่อเกษียณอายุแล้ว ได้มามาทำสวนมะพร้าวที่บ้านแหลมโพธิ์จังหวัดกระบี่ และทำสวนยางพาราที่จังหวัดพังงา จนกระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรม ปีพ.ศ.๒๔๘๐ รวมอายุ ๖๘ ปี (คณะทำงานกลุ่มเชื้อสายพระยานครศรีธรรมราช. มปป. : www.3sakul.com) บ้านพระยาคงคาธราธิบดี จึงตกทอดมาสู่ลูกหลาน ช่วงหนึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของลูกชายคนโต คือนายแพรว ณ นคร แต่ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว

               บ้านหลังนี้สร้างประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ คือในช่วงประมาณปี พ.ศ.  ๒๔๕๐ ซึ่งพระยาคงคามาทำสวนมะพร้าว เป็นบ้านลำลองสำหรับอยู่อาศัยเพื่อที่จะสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ไม่ได้สร้างเนื่องจากพระยาคงคาเสียชีวิตก่อน  ลักษณะบ้านเป็นอาคารยกพื้นสูง วัสดุก่อสร้าง และเสาบ้านเป็นไม้ทั้งหลัง มีการว่าจ้างช่างชาวจีนจากเมืองจีนมาทำกระเบื้องมุงหลังคา ฐานเสาและเชิงบันไดหล่อปูน มีบันไดขึ้นลงทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ชั้นบนด้านหน้ามีระเบียงและลูกกรงไม้ หน้าต่างด้านในมีตาข่ายเหล็ก หน้าต่างด้านนอกและประตูทางเข้า-ออก บ้านเป็นบานเปิด-ปิด ๒ บาน ชั้นบนแบ่งเป็นห้องสำหรับพัก ๒ ห้อง ห้องพระ ๑ ห้อง และมีพื้นที่ว่าหน้าห้องนอนเป็นห้องรับแขก มีกูบช้าง และตะขอบังคับช้างซึ่งเคยใช้งานในอดีตตั้งโชว์ไว้ในห้องรับแขก ด้านหลังอาคารชั้นล่างมีทางเดินไปห้องครัวซึ่งจะแยกอยู่ต่างหาก และมีศาลาสำหรับรับประทานอาหาร สมัยนั้นไม่มีรถยนต์ การขนมะพร้าวต้องใช้วัวลากภาชนะสำหรับบรรทุกมะพร้าวทำด้วยเหล็กรูปทรงเป็นก้นกลมมลปากผายออกมีล้อไปตามรางเหล็กคล้ายภาชนะที่ขนแร่ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีคนเข้าไปขโมยรางเหล็กไปขาย ด้านหน้าบ้านริมทะเลจะมีเตาเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวส่งไปขายปีนัง และเป็นท่าเรือเนื่องจากสมัยนั้นใช้เส้นทางเรือติดต่อกับภายนอก

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันสภาพบ้านทรุดโทรมมากไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ เตาเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวและท่าเรือ เหลือแต่ซากเสาหิน มีของใช้ที่เสื่อมสภาพแล้ววางอยู่ตามพื้นดินหลังบ้าน

ปัญหาที่พบในพื้นที่

ตัวบ้านตั้งอยู่ในสวนมีต้นไม้รอบ ๆ บ้าน มีความชื้นสูงทำให้ตัวบ้านและวัสดุที่เป็นไม้มีราขึ้น ตะปูและเหล็กที่เป็นส่วนประกอบในการสร้างบ้าน ตาข่ายเหล็กบานหน้าต่างชั้นในขึ้นสนิม เพดานด้านหน้าหลุดห้อย ฝาบ้านและพื้นบ้านก็ผุพังตามกาลเวลา ประกอบกับมีฝูงลิงเข้าไปรื้อค้นทำลายข้าวของภายในบ้านของเสียหาย เดิมหลาน ๆ มีโครงการจะซ่อมแซมเพื่อทำพิพิธภัณฑ์ มีการปรึกษาช่างและซื้อไม้เตรียมไว้ใต้ถุนบ้าน แต่หลานบางคนไม่ยินยอมมีการฟ้องร้องเป็นคดีความกันมานาน จนบ้านผุพังทรัพย์สินภายในบ้านมีการโยกย้ายไปเก็บไว้ที่อื่น คงเหลือแต่กูบช้างและอุปกรณ์สำหรับขี่ช้าง

แก้ไขเมื่อ

2019-10-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร