บ้านชาวจีนไสไทย ๑


ละติจูด 8.079964 , ลองจิจูด 98.856802

พิกัด

ตำบล ไสไทย อำเภอ เมือง จังหวัด กระบี่ พิกัด (UTM/ละติจูด) ๘ ํ๐๔ '๕๒"N ๙๘ ํ๕๒'๐๗.๐"E ตำบลไสไทย อำเภออำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ รหัสไปรษณีย์ 81000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประเภทแหล่งศิลปกรรม สิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

 

ประวัติความเป็นมา /ความสำคัญ

เป็นบ้านของชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลไสไทยยุคแรกๆ สร้างขึ้นประมาณ ๙๐-๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา เจ้าของบ้านคือนายกิว แซ่กง และนางก๊กหยิ่ว ชดช้อย ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันภายในบ้านยังมีผู้สูงอายุซึ่งเป็นลูกสาว และหลาน เหลน อาศัยอยู่ ที่น่าสนใจคือเจ้าของบ้านยังคงดูแลรักษาให้คงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะตัวบ้าน เป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น ด้านล่างส่วนหน้า ประตูหน้าบ้านมีการล็อค ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นประตู ๒ บาน ใช้กลอนสลัก ๒ อัน ด้านบนและด้านล่าง เมื่อต้องการปิดประตูจะผลักกลอนสอดสลับซ้าย-ขวา ยังคงใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับประตูด้านหลัง ประตูหน้าบ้านมีล็อคด้านในอีกชั้น โดยใช้ไม้กลมยาว ๑๒ อัน ยาวกว่าความกว้างของวงกบประตูเล็กน้อย ปลายด้านขวาตอกไว้กับแผ่นไม้กระดาน ปลายด้านซ้ายสอดคาไว้บริเวณวงกบด้านขวาที่เจาะรูไว้ระยะห่างเท่า ๆ กัน เมื่อต้องการปิดผลักแผงไม้กลมซึ่งมีล้อวิ่งบนรางไม้ด้านล่างผ่านวงกบจากขวาไปซ้ายให้ลงล็อคกับรูที่เจาะเป็นวงกลมเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้กลมบริเวณวงกบด้านซ้ายมือ แม้ล็อคชั้นในจะฝืดและเลิกใช้แล้ว แต่ยังคงมีร่องรอยหลักฐานการใช้งานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตรงกลางเพดานส่วนหน้าของบ้านซึ่งเป็นพื้นบ้านชั้น ๒  เจาะช่องสี่เหลี่ยมกว้างพอประมาณมีลูกกรงล้อมรอบเพื่อกันไม่ให้เด็กตกลงมาข้างล่าง  ใช้ประโยชน์ในการส่งของขึ้นลงระหว่างชั้นบนและชั้นล่างโดยไม่ต้องผ่านบันไดแคบ ๆ นอกจากนั้นยังเป็นช่องระบายอากาศ เป็นช่องทางสำหรับพูดคุยสั่งการของคนในบ้านที่อยู่ชั้นบนกับชั้นล่าง และมองลงมาว่าใครเดินเข้าบ้านได้ด้วย นับเป็นภูมิปัญญาชาวจีนในยุคสมัยหนึ่งที่นำมาใช้ในประเทศไทย

ประเภทแหล่งศิลปกรรม สิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

 

ประวัติความเป็นมา /ความสำคัญ

เป็นบ้านของชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลไสไทยยุคแรกๆ สร้างขึ้นประมาณ ๙๐-๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา เจ้าของบ้านคือนายกิว แซ่กง และนางก๊กหยิ่ว ชดช้อย ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันภายในบ้านยังมีผู้สูงอายุซึ่งเป็นลูกสาว และหลาน เหลน อาศัยอยู่ ที่น่าสนใจคือเจ้าของบ้านยังคงดูแลรักษาให้คงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะตัวบ้าน เป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น ด้านล่างส่วนหน้า ประตูหน้าบ้านมีการล็อค ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นประตู ๒ บาน ใช้กลอนสลัก ๒ อัน ด้านบนและด้านล่าง เมื่อต้องการปิดประตูจะผลักกลอนสอดสลับซ้าย-ขวา ยังคงใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับประตูด้านหลัง ประตูหน้าบ้านมีล็อคด้านในอีกชั้น โดยใช้ไม้กลมยาว ๑๒ อัน ยาวกว่าความกว้างของวงกบประตูเล็กน้อย ปลายด้านขวาตอกไว้กับแผ่นไม้กระดาน ปลายด้านซ้ายสอดคาไว้บริเวณวงกบด้านขวาที่เจาะรูไว้ระยะห่างเท่า ๆ กัน เมื่อต้องการปิดผลักแผงไม้กลมซึ่งมีล้อวิ่งบนรางไม้ด้านล่างผ่านวงกบจากขวาไปซ้ายให้ลงล็อคกับรูที่เจาะเป็นวงกลมเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้กลมบริเวณวงกบด้านซ้ายมือ แม้ล็อคชั้นในจะฝืดและเลิกใช้แล้ว แต่ยังคงมีร่องรอยหลักฐานการใช้งานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตรงกลางเพดานส่วนหน้าของบ้านซึ่งเป็นพื้นบ้านชั้น ๒  เจาะช่องสี่เหลี่ยมกว้างพอประมาณมีลูกกรงล้อมรอบเพื่อกันไม่ให้เด็กตกลงมาข้างล่าง  ใช้ประโยชน์ในการส่งของขึ้นลงระหว่างชั้นบนและชั้นล่างโดยไม่ต้องผ่านบันไดแคบ ๆ นอกจากนั้นยังเป็นช่องระบายอากาศ เป็นช่องทางสำหรับพูดคุยสั่งการของคนในบ้านที่อยู่ชั้นบนกับชั้นล่าง และมองลงมาว่าใครเดินเข้าบ้านได้ด้วย นับเป็นภูมิปัญญาชาวจีนในยุคสมัยหนึ่งที่นำมาใช้ในประเทศไทย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

                   สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

 ตั้งอยู่ในสวนริมถนนตำบลไสไทย เป็นทางผ่านที่จะไปบ้านอ่าวนาง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกระบี่ บริเวณรอบบ้านเป็นสวนยางพารา รอบ ๆ บ้านปลูกผลไม้แบบสมรม ด้านซ้ายเป็นยุ้งข้าวเก่า ด้านขวาเป็นโรงเรือนสำหรับวางเครื่องจักรทำแผ่นยางพารา ด้านหลังบ้านติดกับตัวบ้านเก่ามีการต่อเติมใหม่ เพื่อเป็นห้องครัวและเก็บข้าวของเครื่องใช้ทั้งของเก่าและของใหม่

 

 

          ปัญหาที่พบในพื้นที่

          หลังจากทำถนนที่ผ่านหน้าบ้านใหม่มีการถมพื้นถนนให้สูงขึ้นกว่าตัวบ้าน ช่วงที่ฝนตกหนักน้ำจะไหลบ่าเข้าไปในบ้าน จำเป็นต้องก่อปูนยกขอบสูงขึ้นรอบบ้านเพื่อกันไม่ให้น้ำท่วมบ้าน ไม่มีปัญหาเรื่องปลวกเพราะเป็นไม้เนื้อแข็งแต่มีมอดบ้าง ส่วนใหญ่ไม้จะผุพังเองตามกาลเวลา

เจ้าของบ้านต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเข้าไปรบกวนเพราะมีผู้ป่วยสูงอายุพักอาศัยอยู่ในบ้าน

แก้ไขเมื่อ

2019-10-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร