ละติจูด 14.2064456 , ลองจิจูด 101.2247529
พิกัด
เลขที่ ข4-395 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000 ตำบลนครนายก อำเภออำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดดง ตั้งอยู่เลขที่ ข4-395 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2512 พื้นที่ตั้งของวัดโดยรอบติดกับวัดอุดมธานี พระอารามหลวง และแม่น้ำนครนายก เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน มีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา
วัดดง เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่กับชุมชนบ้านใหญ่มาช้านาน ประวัติความเป็นมาของวัดดงนั้น ก่อตั้งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวๆ พ.ศ.2304 โดยชาวบ้านดงได้ทำการถางป่าให้โล่งเตียนเพื่อต้องการใช้เป็นพื้นที่ทำไร่ทำสวนนั้น ขณะทำการถางป่าอยู่นั้นปรากฏว่าได้พบเศียรพระพุทธรูป (หักอยู่แค่คอ) จึงนำความไปแจ้งให้ชาวบ้านในบ้านดงได้ทราบ ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันปลูกโรงไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคาแล้วนำเศียรพระพุทธรูปไปไว้ในโรงนั้นเพื่อให้ชาวบ้านได้เคารพบูชาเศียรพระนี้ และดำริที่จะก่อตั้งสร้างเป็นวัดขึ้นในบริเวณนี้
ตามคำบอกเล่าว่า กุฎิสงฆ์ครั้งแรกเดิมนั้นเป็นไม้ไผ่หลังเล็กๆ ปลูกใต้ต้นมะขามใหญ่ ต่อมาได้รับการพัฒนาเรื่อยๆ มาจากชุมชนชาวบ้านดง และชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์มาอยู่ที่หมู่บ้านใหญ่ลาว ประมาณ พ.ศ.2323 ได้ก่อตั้งโรงอุโบสถโดยมีหลังคามุงกระเบื้อง หน้าบันไม้สักแกะสลักประดับกระจกเขียนสี และเสาไม้เนื้อแข็ง พื้นที่ยกสูงโดยใช้อิฐวางมีเอวขัน ไม่มีผนัง (ศิลปะช่างไทย-ลาว) และจัดสร้างซุ้มเสมา พระประธานในโรงอุโบสถนี้ไม่ทราบว่าท่านใดเป็นผู้ถวายและปั้นพระด้วยปูนปั้นอีกหนึ่งองค์ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด เมื่อประมาณ พ.ศ.2369 ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมา เมื่อพ.ศ.2372 สร้างกุฏิสงฆ์ด้วยไม้เนื้อแข็งและมีภิกษุจำพรรษาเรื่อยมา
การที่มีชื่อว่า “วัดดง” นั้นชื่อเดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดบ้านดง” เพราะหมู่บ้านตรงบริเวณที่สร้างวัดสมัยนั้นเรียกว่า “บ้านดง” ที่เรียกว่าบ้านดงก็เพราะเป็นหมู่บ้านใหญ่มีหลายสิบหลังคาเรือน ได้ปลูกบ้านให้อยู่ติดๆ กัน และมีบ้านมากกมายจนเป็นดง กล่าวกันว่า ไก่บินขึ้นไปแล้วจะไม่ตกหรือหาที่ลงไม่ได้ ถ้าลงก็ลงบนหลังคาบ้าน เมื่อถึงฤดูทำนาทำไร่ ชาวบ้านในหมู่บ้านดง ก็จะออกไปทำไร่ทำนา โดยการปลูกห้างพักชั่วคราวอยู่ตามไร่นาของตน อันได้แก่ หนองปราจีน, หนองสรวง, หนองไผ่, หนองอ้อ, หนองแขม, ห้วยโรง, หนองจิก, และดอนเจริญ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วขนย้ายกันออกไปทำมาหากินในที่นาของตน และหมู่บ้านต่างๆ ที่กล่าวมานั้นได้ขยายออกมาจากบ้านดง ดังเช่นในปัจจุบันนี้ ต่อมาคำว่า “บ้าน” เริ่มหายคงเหลือแต่ “วัดดง” มิใช่เป็นป่าเป็นดง ตามที่เข้าใจกันดังนี้
อุโบสถหลังใหม่ ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2511 ก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.2512 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 27 เมตร โดยแม่ถมยา ภุชฌงค์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2512 ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2512 ผูกพันธสีมาเมื่อระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2513 โดยพระธรรมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดนครนายก และพ.ศ.2543 ได้ทำการต่อเติมหลังคาช่อฟ้าด้านหลังอุโบสถให้ครบ
พระพุทธรูปพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปขนาดหนาตักกว้าง 1.49 เมตร สูง 2.19 เมตร ลงรักปิดทอง เป็นศิลปะสมัยใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.2512 พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ในลักษณะปางมารวิชัย
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-10-08
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|