ละติจูด 14.1984864 , ลองจิจูด 101.2110795
พิกัด
3409 ซอยพาณิชย์เจริญ 3 ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000 ตำบลนครนายก อำเภออำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
ศาลเจ้าพ่อปุนเถ้ากง จังหวัดนครนายก (ตลาดเก่า) เดิมเรียกว่า “ศาลเจ้าหาดทราย” ภายในศาลเจ้าพ่อ ประดิษฐานเทพเจ้าองค์สำคัญ คือ องค์ประธาน คือ องค์เจ้าพ่อปุนเถ้ากง (อัญเชิญมาจากศาลเจ้าแถวย่านซื่อ) องค์รองด้านขวามือ คือ
เจ้าแม่กวนอิม องค์รองด้านซ้ายมือ คือ เทพเจ้าไฉ่ซิงเอิ๊ย
ศาลเจ้าพ่อปุนเถ้ากง เป็นศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่เกินกว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว ซึ่งมีหลักฐานแสงถึงความเก่าแก่ คือ แผ่นไม้แกะสลักคำว่า “คิ้ว จือ เจ๊ก เอง” ที่แปลว่า “เมื่อมีการวอนขอก็ตอบสนองให้” หลายแผ่น ที่มีผู้นำมาถวายและติดไว้ภายในศาลเจ้า แผ่นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดลงระบุลงปี สาธารณรัฐจีนหมิ่งกกที่ห้า ตรงกับ พ.ศ.2459 ทำให้ทราบว่าศาลเจ้าพ่อปุนเถ้ากงแห่งนี้มีความเก่าแก่ยาวนานตามที่กล่าวมาข้างต้น
นอกจากนี้ ยังได้รับคำบอกเล่าเกี่ยวกับศาลเจ้าจากผู้อาวุโสในชุมชนหลายท่าน ทำให้ทราบว่า แต่เดิมสถานที่ตรงนี้เปรียบเสมือนศูนย์รวมของชุมชน เพราะผู้ที่เดินทางไปมาทั้งทางบกและทางน้ำจะต้องผ่านบริเวณนี้ ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังสถานที่อื่นๆ เช่น วัด ตลาด โรงสีข้าว โรงน้ำแข็ง เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะบริเวณดังกล่าว เป็นท่าจอดเรือสินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ และจากที่อื่นๆ เพื่อมารับ-ส่งสินค้า ซึ่งท่าเรือดังกล่าวก็คือบริเวณซุ้มประตูทางเข้าของศาลเจ้าพ่อปุนเถ้ากงในปัจจุบัน
สำหรับชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน โดยส่วนใหญ่ยังยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากประเทศจีน และมีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากศาลเจ้าประจำหมู่บ้านที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นสถานที่ที่นัดพบเพื่อปรึกษาหารือ พบปะสังสรรค์ในเทศกาลตรุษจีน สารทจีน และวันเทศกาลสำคัญของชาวจีนที่นิยมปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา
“อึ๊ง กุง นี้ เหล่า ซินแซ” เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่เดินทางมายังนครนายก เห็นว่าพื้นที่ติดริมแม่น้ำของตลาดเก่ามีลักษณะที่ดี เพราะได้พลังจากแม่น้ำ สามารถนำพาความศักดิ์สิทธิ์แผ่ปกป้องคุ้มครองแลรักษาประชาชนได้อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์โดยแท้ จึงได้มอบที่ดินให้สร้างศาลเจ้าไม้กว้าง 6 เมตร ลึก 6 เมตร และสูง 4 เมตร หลังคามุงสังกะสี ยกพื้นสูง มีบันไดขึ้นแบบศาลเจ้าทั่วไป
หลังจากนั้นหลายปี คณะกรรมการศาลเจ้าเห็นว่า ศาลเจ้ามีสภาพทรุดโทรมและคับแคบ เพราะผู้มีศรัทธาเสื่อมใสจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ให้เหมาะสมกว่าเดิม และขอให้ “กิม คุง ซินแซ” (คุณชิตร โปษยานนท์) ซึ่งเป็นหลานก๋งของ “อึ๊ง กุง นี้ เหล่า ซินแซ) บริจาคที่ดินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่แบบก่ออิฐถือปูน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2519 ต่อมาจากนั้น
พ.ศ.2542 ได้ทำการสร้างซุ้มประตูและปรับปรุงศาลเจ้าใหม่อีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.2553 คณะกรรมการศาลเจ้าเห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ภายในศาลเจ้ายังจัดไม่ครบถ้วนตามความเชื่อของชาวจีน จึงเห็นควรทำการบูรณะซ่อมแซมและเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักและศาสตร์ฮวงจุ้ยของชาวจีน พร้อมกับตกแต่งทั้งภายในและภายนอกให้สวยสดงดงาม เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อสถานที่ตั้งและต่อผู้มีจิตศรัทธามาสักการะกราบไหว้ ให้ได้อยู่เย็นเป็นสุขและเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานสืบไป
สำหรับการดูทิศทางและการจัดวางตำแหน่งต่างๆ ภายในศาลเจ้า ได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ฮวงจุ้ยมาให้คำแนะนำ และได้อัญเชิญ “โป๊ยเซียนโจวซือ” ลงประทับลิขิตอักษรอักขระระบุฤกษ์ยามในการดำเนินงานและการอัญเชิญเจ้าจนครบถ้วนทุกขั้นตอน
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้ประกอบพิธีวางตะเกียงศักดิ์สิทธิ์ (อังเต็งบ้อ) ที่แท่นเจ้าพ่อปุนเถ้ากงและองค์เทพต่างๆ และวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ได้มีพิธีวางตะเกียงศักดิ์สิทธิ์ของแท่นทีกงและเสาทีกงเต็งด้วย และการบูรณะซ่อมแซมและตกแต่งศาลเจ้าพ่อปุนเถ้ากง จังหวัดนครนายก สำเร็จเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2554
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-10-08
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|