ภาพเขียนสีภูผาผึ้ง (ถ้ำลายมือ)


ละติจูด 16.549975 , ลองจิจูด 104.132448

พิกัด

ตำบลหนองห้าง อำเภออำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีถ้ำลายมือ พบอยู่บนภูผาผึ้งในเทือกเขาภูพาน เป็นภูเขาหินทราย ห่างจากหมู่บ้านหนองห้างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กม. ลักษณะเป็นเพิงผา เป็นหลืบหินที่เว้าลึกเข้าไปประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 22 เมตร สูงจากพื้นประมาณ 2 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เหนือเพิงหิน (หลังคา ) นี้เป็นลานหิน ภาพปรากฎอยู่เต็มเพดานหลืบหินและตลอดผนังด้านทิศตะวันออก เขียนด้วยสีแดง ภาพมือมีทั้งหมดประมาณ 171 มือ มือเด็กและมือผู้ใหญ่ มีเทคนิคการทำ 2 วิธี ภาพมือส่วนมากทำแบบทาบ (165 มือ) และทำแบบทาบเช่นกันแต่เพิ่มการเขียนลายก้นหอยที่บริเวณฝ่ามือ ( 6 มือ ) ภาพลายเส้นภาพลายเส้นเขียนปนอยู่กับภาพมือ เป็นรูปตาตาราง และลายเส้นรูปอื่นที่มีขนาดความหนาของเส้นประมาณ 4 - 5 ซม. (ที่มา : http://www.era.su.ac.th/)ศิลปะถ้ำที่พบในถ้ำลายมือใช้เทคนิคการลงสี (pictograph) ด้วยสีแดงคล้ำ บางภาพมีสีจางออกเป็นสีน้ำตาลปนแดงอ่อน ๆ ภาพที่ปรากฏอยู่ 2 แบบ คือ ภาพมือคนและภาพสัญลักษณ์ที่ทำเป็นลวดลายแบบต่าง ๆ ภาพมือเฉพาะที่นับได้มีทั้งหมด 171 ภาพ (ภาพที่นับไม่ได้อีกจำนวนหนึ่งเพราะลบเลือนมากและซ้อนทับกัน) ผู้ศึกษาระบุว่าภาพมือเหล่านี้พอจะจำแนกภาพมือได้ 3 ลักษณะคือ (1) ภาพมือผู้ใหญ่ขนาดใหญ่เท่ามือของผู้ชายวัยผู้ใหญ่ กับภาพที่เล็กลงมาเท่ากับมือผู้หญิง หรือคนในวัยหนุ่มสาว (2) ภาพมือเด็กมีทั้งมือซ้ายและขวา (3) ไม่สามารถจำแนกข้างและขนาดได้เนื่องจากลบเลือนมาก ส่วนเทคนิคการทำภาพมือมี 2 วิธี คือ 1. ใช้สีทามือแล้วทาบลงไปบนผนัง เรียกว่าการทาบมือภาพมือที่ทำด้วยวิธีนี้มี 165 ภาพ คือ ภาพมือเด็ก ซ้าย 3 ภาพ ขวา 4 ภาพ ภาพมือผู้ใหญ่ ซ้าย 22 ภาพ ขวา 60 ภาพ ไม่สามารถจำแนกขนาดและข้างได้ 76 ภาพ 2. นำเอาสีมาทามือแล้วขูดสีบางส่วนออกจากฝ่ามือแล้วทาบ เรียกว่ามือทาบแบบประดิษฐ์วิธีนี้มี 6 ภาพ คือ ภาพมือผู้ใหญ่ พบเฉพาะข้างขวา 5 ภาพ ไม่สามารถจำแนกขนาดและข้างได้ 1 ภาพ ข้อที่น่าสังเกตคือไม่พบภาพมือเด็กแบบมือทาบประดิษฐ์เลย และภาพมือเด็กพบว่าทำอยู่ที่เชิงผนังที่พอยืนทำภาพเองได้ ภาพที่อยู่สูงหรือภาพบนเพดานไม่พบเลย ภาพสัญลักษณ์คือภาพลายเส้นที่เขียนคล้ายเครื่องหมายรูปแบบต่าง ๆ มีรูปตาราง 1 รูปเขียนอยู่ข้าง ๆ ภาพมือ ใช้เส้นหนา 1-4 เซนติเมตร กับภาพลายเส้นคล้ายภาพกระโถนปากแตร ใช้เส้นหนา 4-5 เซนติเมตร มีภาพมือบรรจุอยู่ภายใน 3 ภาพ กับภาพลายเส้นทึบ ภาพทั้ง 2 ประเภทมีทั้งภาพที่คมชัดกับภาพที่ลบเลือนบนผนังเดียวกัน มีการทำทับรอยกัน เป็นตัวบอกถึงช่วงเวลาเขียนภาพที่ต่างกรรมต่างวาระกัน (ที่มา : https://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -