แหล่งโบราณคดีเขาโกน (ไร่นายสังเวียน จินดาเวช)


ละติจูด 13.090544 , ลองจิจูด 102.401818

พิกัด

ตำบลหนองตาคง อำเภออำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดี บ้านนายสังเวียน จินดาเวช อยู่ในท้องที่บ้านคลองบอน หมู่ที่ 4 ตำบล หนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี อยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีเขาแก้ว 2 กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านคลองบอน 1.6 กิโลเมตร และแหล่งโบราณคดีบ้านโพธิ์ 7 กม.แหล่งโบราณคดีเขาโกนมีลักษณะเป็นที่ราบลอนลูกคลื่นเชิงเขา มีเขาโกนซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนอยู่ทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 800 เมตร ทางทิศเหนือมีเขาแก้วซึ่งเป็นภูเขาหินปูนอยู่ห่างเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร มีลำน้ำธรรมชาติคือ คลองบอนไหลผ่าน ทางทิศตะวันตก คลองเหม็นไหลผ่านทางทิศใต้ ลำคลองทั้ง 2 มีน้ำไหลไม่ตลอดปี หลักฐานต่าง ๆ ที่ขุดพบภายในแหล่งโบราณคดีเขาโกน นายสังเวียน จินดาเวช คือ กำไลสำริดสวมอยู่ในขาของโครงกระดูก 2 กำไลสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.2 เซนติเมตร 4 วง กำไลสำริดขนาดกลาง (สมบูรณ์) 4 วง กำไลสำริดขนาดเล็ก (ไม่สมบูรณ์) 3 วง เหล็กรูปทรงคล้ายต่างหูสภาพสมบูรณ์ 2 วง เหล็กรูปทรงกลมคล้ายต่างหูไม่สมบูรณ์ 1 วงแหวนเกลียวเชือก 13 วง แหวนลักษณะเรียบคล้ายปลอกมีด 61 วง อ่างดินเผาเคลือบสีมะกอกปากผายสภาพแตกหักชำรุด 1 วง เศษไหเคลือบสีน้ำตาลดำ มีดทำเหล็ก จำนวน 2 เล่ม ลูกปัดแก้วสีน้ำเงินและสีเหลือง หลักฐานต่าง ๆ ที่ได้จากแหล่งโบราณคดีเขาโกนเป็นหลักฐานที่ราษฎรเก็บขึ้นมาจากการขุดพบจึงไม่ทราบข้อมูลรายละเอียด แต่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าแหล่งโบราณคดีเขาโกนพบเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ทำด้วยสำริดในขณะที่แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน คือ แหล่งโบราณคดีเขาแก้วแหล่งโบราณคดีบ้านคลองบอน แหล่งโบราณคดีคลองกันทึม และแหล่งโบราณคดีบ้านโพธิ์ ไม่พบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยสำริด แหล่งโบราณคดีเขาโกน จึงอาจเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เริ่มขึ้นในยุคโลหะที่ใช้สำริด คือ เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้วหรืออาจเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่ตอนปลายที่ใช้เครื่องมือหินขัด คือเมื่อประมาณ 4,000-2,500 ปีมาแล้ว และมีพัฒนาการต่อเนื่องทางสังคมและวัฒนธรรมมาจนถึงยุคโลหะที่ใช้สำริด แหล่งโบราณคดีเขาโกนอาจมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมต่อเนื่อง จนเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 12-14 หลักฐานทางโบราณคดีที่ทำด้วยสำริดและลูกปัดแก้ว ไม่พบแหล่งผลิตในแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีเขาโกน จึงน่าจะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับชุมชนที่อยู่ห่างออกไป เช่น ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ตามแนวชายฝั่งทะเลที่โคกพนมดี โคกระกา โคกพุทราและหนองโนในเขตอำเภอพนัสนิคมและอำเภอพานทองจังหวัดชลบุรี หรือชุมชนที่อาศัยตามแนวภูเขาสูง เช่น เขาชะอาง อำเภอบ่อทองจังหวัดชลบุรี หรือเขาวง อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี หรืออาจมีการติดต่อสัมพันธ์ชุมชนชายฝั่งทะเลโดยผ่านฟูนานที่มีบทบาทสำคัญเรื่องการค้าทางทะเลช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 ฟูนานตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตรงดินดอนสามเหลี่ยมลุ่มน้ำโขง เชื่อกันว่าบริเวณเมืองออกแก้ว (Oc - Ec) ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของฟูนาน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -