ละติจูด 10.4629871237 , ลองจิจูด 99.1300821756
พิกัด
ตำบลขุนกระทิง อำเภออำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ
ความสำคัญ/ลักษณะ
เป็นที่ราบเนินเขา มีถ้ำอยู่ด้านบน ใกล้กับชุมชนริมทางหลวงสายเพชรเกษมประกอบไปด้วย ชุมชนบ้านขุนกระทิง ชุมชนบ้านในห้วย ด้านหน้าบริเวณวัดด้านตรงข้ามมีตลาดนัดชาวบ้านจำหน่ายสินค้า แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาขุนกระทิง ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำขุนกระทิง เดิมวัดนี้เมื่อยังมิได้สร้างเป็นวัด มีภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่กลางป่าเปลี่ยว ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่าเขานาพร้าวเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดชุมพร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร รูปร่างของภูเขาคล้ายวงรี มีความยาวตามแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร และมีความกว้างตามแนวทิศตะวันออก - ทิศตะวันตกประมาณ 450 เมตร ยอดสูงสุดอยู่ทางใต้ของภูเขาสูงประมาณ 148 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีถ้ำประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์อยู่ 1 ถ้ำ คนโบราณพูดว่าสร้างแต่ครั้งไหนไม่ปรากฏ ต่อมาเมื่อมีถนนสายเอเชียตัดผ่านหน้าเขา จึงได้มีการจับจองที่ดินเนื้อที่ 1239 ไร่ ตั้งเป็นสำนักสงฆ์อยู่หลายปี และได้จดทะเบียนตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. 2522 ให้ชื่อว่า วัดถ้ำขุนกระทิง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ 1. ถ้ำพระ เป็นถ้ำอยู่สูงจากระดับพื้นประมาณ 10-15 เมตร ถ้ำมีขนาดประมาณ 6.20x11.60 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เป็นพระพุทธไสยาสน์ วัดจากพระบาทถึงพระเศียรยาวประมาณ 4.60 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศใต้ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก (หน้าถ้ำ) พระหัตถ์ขวาวางหนุนพระเศียรมีแท่นทำเป็นหมอนรองรับ ครองจีวรห่มเฉียง สร้างด้วยอิฐผูกด้วยดินดิบผสมและลงรักปิดทองประชาชนทั่วไปถือว่าเป็นพระหลักเมืองของจังหวัดชุมพร ภายในถ้ำยังประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย อีก 13 องค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยหลังลงมา ส่วนพระพุทธไสยาสน์ น่าจะเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา 2. รอยพระพุทธบาท เป็นแผ่นหินปูนขนาด 13.2x8.30 เมตร หนา 80 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนแท่นหินห่างจาก ปากถ้ำ ประมาณ 15 เมตร รอยพระพุทธบาทสลักนูนต่ำ ด้านนอกเป็นขอบพระบาท ตรงกลางฝ่าพระบาทเป็นรูปธรรมจักรมีกงล้อ 7 กงล้อ ล้อมรอบด้วยช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก 42 ช่อง ส่วนบนเป็นรอยนิ้วพระบาท 5 นิ้ว 3. ภาพเขียนสี เป็นภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อยู่บริเวณแนวเพิงผาหิน ก่อนขึ้นถ้ำพระภาพเขียนสีเป็นภาพลายเส้นบนผนังหิน เขียนด้วยสีแดง มีลายเส้นตรง เส้นหยักและวงกลม ส่วนใหญ่ของภาพลายเส้นเขียนต่อกันหรือเป็นส่วนของภาพเดียวกัน ยังแปลความไม่ชัดเจนว่าเป็นภาพอะไร เพราะบางส่วนของภาพถูกน้ำหินปูนเคลือบทับ แต่ดูจากภาพรวม ๆ แล้ว สันนิษฐานว่าเป็นภาพของเรือใบวัดถ้ำเขาขุนกระทิง (ที่มา : https://www.m-culture.go.th/chumphon)
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03