แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว


ละติจูด 10.52725 , ลองจิจูด 99.18208

พิกัด

ตำบลนาชะอัง อำเภออำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว เป็นชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จากการหาค่าอายุด้วยวิธี C-14 จากถ่านที่ได้จากการขุดค้นพบว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีการอยู่อาศัยเริ่มตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5-10 (จากชั้นดินพบหลักฐานการใช้พื้นที่อีกครั้งในช่วงร่วมสมัยรัตนโกสินทร์) ผลจากการขุดค้นที่เป็นระบบทำให้สามารถเห็นภาพของชุมชนโบราณเขาสามแก้วในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2-10 ได้ ลักษณะของชุมชนจัดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและสถานีการค้า (มีแม่น้ำท่าตะเภาไหลผ่านทางทิศตะวันตกของแหล่งโบราณคดีไหลลงสู่ทะเล ติดต่อกับชุมชนภายนอกได้โดยสะดวก) โดยเป็นชุมชนที่มีการแหล่งผลิตอุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมแก้วและหิน จากการศึกษาพบว่ามีการจัดแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของชุมชน คือ มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วไปในแหล่งโบราณคดี พบหลายแห่ง โดยกำแพงจะวางตัวแนวยาวตามเนินเขาหรือที่ราบเชิงเขาที่มีความลาดชันต่ำ มี 2 รูปแบบ คือ กำแพงดินคู่ที่มีคูน้ำกั้นกลางและกำแพงดินเดี่ยว จากรูปแบบสันนิษฐานว่าเป็นเนินดินอัดถมบริเวณส่วนฐานและอาจมีรั้วไม้ปักอยู่ด้านบน จากการพบกำแพงดินหลายแห่งทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่าอาจมีชุมชนขนาดเล็กหลาย ๆชุมชนในพื้นที่เดียวกัน กำแพงดินเหล่านี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 2-4 (ที่มา : เว็บไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิริรนธร (องค์กรมหาชน http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -