ละติจูด 7.58932 , ลองจิจูด 99.579769
พิกัด
ตำบลนาตาล่วง อำเภออำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ
ความสำคัญ/ลักษณะ
แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาสามบาตร หรือถ้ำเขาสามบาท เป็นถ้ำบนภูเขาหินปูนเล็ก ๆ ใกล้แม่น้ำตรังและวัดไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง ชาวบ้านเล่าว่า มีผู้นำทรัพย์สมบัติมาซุกซ่อนไว้มากถึง 3 บาตรพระ และยังผูกปริศนาลายแทงไว้ว่า ขึ้นต้นขาม (มะขาม) ข้ามต้นทึง (กะทิง) ถึงต้นข่อยคอย (มอง) ลงมา ไม้ค่าวาคัดออก ใครทายออก กินไม่รู้สิ้น การสำรวจถ้ำเขาสามบาตรทางโบราณคดีเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกถึงการพบอักษรจารึกบนผนังถ้ำ และทรงวินิจฉัยว่า เป็นตัวอักษรไทยสมัยอยุธยาลักษณะเดียวกับที่วัดป่าโมก กรมศิลปากร สำรวจพบว่า ถ้ำนี้มีหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินค่อนข้างหยาบ แบบหม้อสามขา ภาชนะปากผายชามเตี้ย ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ เครื่องมือสะเก็ดหิน ค้อนหิน เปลือกหอยแครงเจาะรู ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ กระดองเต่า หอยน้ำจืด ส่วนหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์อยุธยาคือชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินขาวเหนียวแบบชามมีเชิง คนโทและพวยกา นอกจากนี้ ยังสำรวจพบหลักฐานเพิ่มเติมคือ ภาพเขียนสีแดง เป็นรูปภาพคล้ายภูเขาสามลูกต่อกันนักวิชาการท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า ตามทำเลที่ตั้งของเขาสามบาตร นับเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเข้าอยู่อาศัยคือเป็ฯถ้ำซึ่งอยู่ไม่สูงเกินไปนัก ถ้ำแห้ง มีบริเวณที่สามารถเข้าอยู่อาศัยประกอบกิจกรรมครัวเรือนได้ ทั้งยังอยู่ใกล้ทางน้ำใช้เป็นแหล่งอุปโภคบริโภคและการคมนาคมติดต่อกับชุมชนข้างเคียงในบริเวณลุ่มน้ำเดียวกัน (แหล่งโบราณคดีข้างเคียงได้แก่ ถ้ำหมูดิน ถ้ำเขาน้ำพราย ถ้ำตราและถ้ำเขาปินะ) นอกจากถ้ำนี้เคยใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ยังปรากฏว่าเคยใช้เป็นศาสนสถานสำคัญของกลุ่มชนในภูมิภาคนี้ร่วมสมัยอยุธยา โดยมีหลักฐานตัวหนังสือจารึกบนผนังหินบอกพุทธศักราชไว้ด้วย คือ พ.ศ. 2150 ตรงกับสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งกรุงศรีอยุธยา คือ พ.ศ. 2148-2163 ซึ่งการจารึกตัวหนังสือไทยสมัยอยุธยาไว้ในถ้ำเช่นนี้ เป็นหลักฐานที่หาได้ยาก (ที่มา : http://www.iamtrang.com/)
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03