วัดจันทน์กะพ้อ


ละติจูด 14.072606 , ลองจิจูด 100.522732

พิกัด

ตั้งอยู่ที่บ้านตากแดด หมู่ที่ 3 ตำบลบางเตย อำเภออำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12160

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับไทยรามัญมาโดยตลอด กล่าวคือ เมืองสามโคกเป็นเมืองเก่ามีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปลายรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองได้ร้างไปเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในครั้งแรก พ.ศ. 2112 ในราว พ.ศ. 2022 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้าฯได้ครอบครัวมอญที่อพยพมาจากเมาะตะมะ ตั้งหลักแหล่งที่บ้านสามโคก (ใกล้วัดสิงห์) แล้วยกบ้านสามโคก เป็นเมืองสามโคก ต่อมาในปี พ.ศ. รัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ครอบครัวมอญอพยพมาอยู่อีกหมื่นคน (ครัวมอญพระยาเจ่งหรือมอญเก่า) ในปี พ.ศ. 2358 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตยโกสินทร์พวกมอญทนกดขี่จากพม่าไม่ไหว ขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุด มีจำนวนสี่หมื่นคนเศษ โปรดเก้าฯ ให้ตั้งรกรากอยู่ที่ เมืองสามโคก อีกกส่วยหนึ่งไปอยู่ที่ปากเกร็ด ส่วนพวกมอญเก่าให้ย้ายไปอยู่ที่ เมืองนครเขื่อนขัณฑ์ (พระประแดง)

          เมื่อชาวรามัญได้ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ประกอบอาชีพมั่นคงแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2359 ได้สร้างวัด เพื่อไว้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชุมชน โดยให้นามวัดครั้งแรกว่า “โกว๊ะ” (อ่านกล้ำ) หรือ “วัดโกว๊ะ” เป็นภามอญ แปลว่า “ต้นจันทน์กะพ้อ” เพราะบริเวณนี้มีต้นจันทน์กะพ้อขึ้นอยู่มาก ต้นจันทน์กะพ้อนิยมว่าดี เป็นไม้มงคล เป็นไม้ตระกูลยูง ดอกสีขาวนวล คล้ายดอกพะยอม มีกลิ่นหอมเย็นคล้ายน้ำมันจันทน์ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดกะพ้อ” ต่อมาได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “วัดจันทน์กะพ้อ” เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2498 และใช้มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ (ต้นจันทน์กะพ้อ จะออกดอกในราวปลาย        เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม) ทุกปี

          การก่อสร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์ ณ เดิมวัดจันทน์กะพ้อ อยู่ในสภาพทรุดโทรม เพราะเป็นวัดเก่าแก่ พระเทพสุเมธมุนี เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ครั้งดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. 2494 ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์  ทั้งบริเวณและก่อสร้างอาคาร เสนาสนะเรียนพระปริยัติธรรม     แผนก นักธรรม-บาลี และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จนได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้          เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันภายในวัดมีอาคารและเสนาสนะต่างๆ คือ พระอุโบสถ, กุฏิ 20 หลัง, ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น, หอสวดมนต์, ศาลาบำเพ็ญกุศล 2 หลัง, ศาลาครัว, หอระฆัง, ศาลาท่าน้ำ, ฌาปนสถาน, หอสมุด, ศาลาศึกษาธรรม 4 หลัง, ตำหนักสมเด็จ, หอฉัน, ศาลารับรอง, กุฏิอาคันตุกะ, อาคารสำนักงานเจ้าคณะจังหวัด มีพระภิกษุ 26 รูป สามเณร 48 รูป ศิษย์วัด 25 คน

          ในปี  พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดจันทน์กะพ้อ ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป

          ลักษณะเด่น เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทย, โบสถ์สร้างด้วยหินอ่อน, เจดีย์อายุประมาณ 100 ปี, มีหอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติรวบรวมข้อมูลศิลปวัตถุข้าว       ของเครื่องใช้ของชาวมอญเมืองสามโคก (ที่มา : : ผู้จัดทำวิจัย รักวัดษ์, 2562)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2024-10-01

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร