วัดท้ายเกาะใหญ่


ละติจูด 14.120106 , ลองจิจูด 100.526257

พิกัด

ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ 3 ท้ายเกาะ ตำบลท้ายเกาะ อำเภออำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12160

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

          วัดท้ายเกาะใหญ่ เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา ครั้งชาวมอญอพยพหลบภัยมาจาก เมืองเมาะตะมะ เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมการสยาม แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) ทางการได้กำหนดเขตให้อยู่อาศัย และบูรณะตกแต่งวัดขึ้นมาใหม่ให้มีชื่อว่า “วัดแวงจาม” ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดท้ายเกาะใหญ่”

          วัดท้ายเกาะใหญ่ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ อยู่ท้ายเกาะใหญ่มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด กุฏิลายจำหลักไม้สวยงามชมศาลาสองหลังต่อกันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตัฟฟ์ แต่ก่อนนั้น จระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก

          วัดท้ายเกาะเป็นที่ตั้งของเจดีย์ทรงรามัญแบบชเวดากองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดปทุมธานี เจดีย์ก่ออิฐภายในกำแพงแก้ว ทรงระฆังแบบมอญฐานแปดเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่สองชั้น ตอนบนฐานปัทม์มีเจดีย์เล็กสี่องค์ทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน ส่วนยอดเป็นฉัตรทำด้วยทองเหลือง ชวนให้หลายคนต้องแวะเข้าไปสักการะและชมความงามที่วัดท้ายเกาะใหญ่ วัดรามัญที่มีชื่อเดิมว่า วัดเวียงจาม ซึ่งเป็นภาษารามัญ แปลว่า วังจระเข้ วัดที่ชาวรามัญจากเมืองเยและเมืองเมาะตะมะได้อพยพหลบภัยมาพึ่งพระโพธิสมภารในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏในพงศาวดาร ปี พ.ศ. 2206 โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าพระราชทานให้ครอบครัวชาวรามัญไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ปลายเขตแดนติดต่อกรุงศรีอยุธยา และชาวรามัญได้รวมกลุ่มก่อตั้งหมู่บ้าน เวียงจามและได้ก่อสร้างวัดเวียงจามเป็นศูนย์รวมทางพระพุทธศาสนาประจำหมู่บ้านและได้สร้างเจดีย์ชเวดากองไว้ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาเพื่อสักการบูชา และต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดท้ายเกาะใหญ่

          ภายในวัดยังมีธรรมาสน์บุษบกศิลปะรัตนโกสินทร์ กุฏิทรงไทย ตาลปัตรพัดยศ ปิ่นโต สังเค็ดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานปางสมาธิล้อมรอบด้วยภาพเขียนพุทธประวัติ บอกเล่าเรื่องราวสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งวัดนี้ยังเคยเป็นที่ประทับแรมระหว่างการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

          มีปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ อุโบสถ, หอสวดมนต์, กฏิเรือนไทย, ศาลาที่ประทับเสด็จประพาสต้น, เจดีย์มอญ (ที่มา : รักษ์วัด, ผู้จัดทำวิจัย, 2562)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2024-10-11

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร