วัดศาลาแดงเหนือ


ละติจูด 14.094454 , ลองจิจูด 100.544984

พิกัด

๒ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภออำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12160

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดศาลาแดงเหนือ เป็นวัดของหมู่บ้านคนไทยเชื้อสายมอญ ซึ่งอพยพมาจากเมืองเมาะตะมะเพื่อเข้ามาพึ่งพระ บรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นการอพยพครั้งที่ 8 ของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์เรือ จัดแสดงเรือประเภทต่าง ๆ มีทั้ง เรือมาดเก๋ง 2 แจว เรือสำปั้น และเรือบด (ที่มา : http://www.pathumthanitourist.com/)

 

วัดศาลาแดงเหนือ มีชื่อภาษามอญว่า “เภียปราน” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันออกของตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ชาวบ้านอพยพหนีสงครามพม่า จากเมืองเบาะ ประมาณ ปี พ.ศ. 2317 มาทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทยได้ให้คนไปรับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนมา โดยให้ชาวบ้านได้เลือกพื้นที่ที่จะอาศัยเป็นหลักเป็นแหล่งจากพื้นที่เหล่านี้คือ ชุมชนวัดศาลาแดงเหนือ ปากเกร็ด และพระประแดง

                    พระอาจารย์อาภา อดีตเจ้าอาวาสวัดศาลาแดงเหนือองค์ที่ 5 ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติวัดเมืองปทุมธานีในปี พ.ศ. 2514 ที่วัดศาลาแดงเหนือ สมัยแรกสร้างได้สร้างหอสวดมนต์และกุฏิสงฆ์ และได้ก่อสร้างพระเจดีย์มอญบริเวณหน้าวัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา ในห้วงเวลานั้น และได้บูรณปฏิสังขรณ์ โบสถ์เก่า ชุมชนพึ่งพาอาศัยวัดด้วยการฝากบุตรหลานผู้ชายไว้ให้บวชเรียนในระหว่างที่ตนเองต้องไปค้าขายทางเรือเป็นเวลาหลายเดือน วัดและชาวบ้านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก พระสงฆ์ไม่เป็นเพียงผู้ตักเตือนให้สติกับชาวบ้านแต่มีส่วนให้ความช่วยเหลือเมื่อชุมชนเดือดร้อนทางเศรษฐกิจด้วย

โบราณสถานที่สำคัญ 

1. อุโบสถ (ตำแหน่งพิกัด : 14.0947711 , 100.5455155) เป็นอาคารทรงไทยสร้างใหม่บนฐานโบสถ์เก่า มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะสมัยอยุธยา อยู่หน้าโบสถ์ 1 คู่

2. กุฏิก่ออิฐถือปูนทรงปั้นหยาอย่างยุโรป พระอาจารย์บุนนาค (ตำแหน่งพิกัด : 14.0947435 , 100.5452764)

กุฏิพระอาจารย์บุนนาค อดีตเจ้าอาวาสวัดศาลาแดงเหนือองค์ที่ 4 ในปี พ.ศ.2551 ชาวบ้านร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อสร้างกุฏิถวายพระอาจารย์บุนนาค ปทุโม (เจ้าอาวาสองค์ที่ 4)  เป็นจำนวนเงิน 5,341 บาท เป็นกุฏิ 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนแบบยุโรป ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ในยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีลักษณะเป็นหลังคา “ปั้นหยา” มุงด้วยกระเบื้องว่าว

                             ในปี 2502 พระอาจารย์บุนนาคมรณภาพลง พระอาจารย์จวง รองเจ้าอาวาสวัดศาลาแดงเหนือในขณะนั้นได้ย้ายมาจำวัดในกุฏิก่ออิฐถือปูนหลังนี้ต่อจากพระอาจารย์บุนนาค

                             ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูป คัมภีร์ หนังสือภาษามอญ และศิลปวัตถุที่อดีตเจ้า       อาวาสได้รวบรวมไว้

ที่มา : ผู้จัดทำวิจัย, 2562

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2025-01-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร