เตาโอ่งอ่าง (เตาสามโคก)


ละติจูด 14.054757 , ลองจิจูด 100.541063

พิกัด

ตำบลสามโคก อำเภออำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดีเตาโอ่งอ่าง (เตาสามโคก) เป็นบริเวณที่ขุดค้นพบซากเตาเผาโบราณ สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของชุมชนมอญที่อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ลักษณะเป็นเนินโคกเตาเผาสามโคกตั้งเรียงรายกันโคกที่สามถูกรถไถเกรดเนินโคกเตาไปทำถนนจนหมดคงเหลือเพียงสองโคก เนินเตาที่หนึ่งมีพื้นที่กว้างประมาณ 300 ตารางวา มีต้นไม้ใหญ่ ขึ้นโดยรอบ บนเนินโคกเตาเต็มไปด้วยเศษอิฐและภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เช่น โอ่ง อ่าง ครก เนินโคกเตาที่สอง อยู่ห่างจากเนินโคกเตาหนึ่ง ประมาณ 50 เมตร ใกล้กับคลองบ้านทาสเนินโคกเตาที่สองนี้ถูกถนนตัดผ่าน จึงเหลือเพียงส่วนเดียวพบแนวอิฐโครงสร้างเตาและเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาอยู่โดยทั่วไป บริเวณเตาโบราณแห่งนี้พบตุ่มสามโคก หม้อ ไห โอ่ง อ่าง ที่มีลักษณะเด่นเป็นภาชนะบรรจุที่ขนาดใหญ่ เนื้อแกร่ง หนา สีแดง ไม่เคลือบผิว เตาสามโคกมีบทบาทหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี 2310 ต่อเนื่องมาถึงกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวรามัญเมืองสามโคกได้เลิกร้างการผลิตไป (ที่มา : http://www.sci.rmutt.ac.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -