ภาพเขียนสีถ้ำลอด


ละติจูด 19.5627685 , ลองจิจูด 98.28306091

พิกัด

ตำบลถ้ำลอด อำเภออำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีเพิงผาถ้ำลอด ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีมนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) นอกจากนี้ยังพบหลักฐานของการเข้ามาใช้ประโยชน์ในยุคประวัติศาสตร์และสมัยปัจจุบันร่วมอยู่ด้วย ตำแหน่งที่ตั้งของเพิงผาถ้ำลอดค่อนข้างมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆในอดีต เพราะค่อนข้างจะอยู่สูง เพิงผาป้องกันแดดฝนได้ดี ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ คือลำน้ำลาง ด้านกระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดีพบว่าชั้นดินที่ปรากฏกิจกรรมของมนุษย์ค่อนข้างหนา แสดงให้เห็นถึงการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีชั้นดินที่ไม่ปรากฏกิจกรรมของมนุษย์แทรกสลับอยู่ เช่น ชั้นหินถล่ม ชั้นดินที่เกิดจากน้ำท่วม ร่องรอยหลักฐานของมนุษย์โบราณที่พบบริเวณเพิงผาถ้ำลอดที่เก่าที่สุด คือโครงกระดูกมนุษย์ปัจจุบันยุคแรกเริ่ม หรือ ArchaicHomo sapiens sapiensอย่างน้อย 4 คน โครงที่เก่าที่สุดอายุประมาณ 13,640 ปีมาแล้ว เป็นโครงกระดูกเพศหญิง อายุเมื่อตายประมาณ 25-35 ปี อีกโครงหนึ่งอายุ 12,100 ปีมาแล้ว อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ไม่สามารถระบุเพศได้ โดยขนาดและลักษณะกระดูกขากรรไกรล่างหรือส่วนคาง แสดงลักษณะของความเป็น ดั้งเดิมชัดเจน โครงกระดูกที่พบจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอดนับว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในพื้นที่ภาคเหนือของไทย โครงกระดูกเหล่านี้ถูกฝังอยู่ใต้ดินของเพิงผาโดยไม่มีพิธีรีตองมากนัก มีเพียงก้อนหินขนาดค่อนข้างใหญ่วางทับอยู่บนหลุมฝังศพเท่านั้น ด้านความเชื่อที่ปรากฏเด่นชัดที่สุดคือความเชื่อเกี่ยวกับความตายและประเพณีการฝังศพท่านอนงอตัว และมีการนำก้อนหินวางเหนือหลุมฝังศพ โดยโครงกระดูกโครงที่ 1 ซึ่งมีอายุประมาณ 13,000 ปีมาแล้ว ฝังศพโดยการขุดหลุมและฝังร่างผู้ตายในท่างอตัวและหันหน้าเข้าเพิงผา มีของเซ่นที่พบร่วมกับโครงกระดูกมีเพียงชิ้นส่วนกระดูกสัตว์และก้อนหินกรวดที่อาจจะเป็นฆ้อนหิน ส่วนเหนือหลุมฝังศพก็จะมีการนำก้อนหินกรวดและหินปูนขนาดใหญ่วางทับโดยรอบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ที่บอกตำแหน่งการฝัง ซึ่งการพิธีกรรมปลงศพในลักษณะนี้เป็นลักษณะที่พบโดยทั่วไปในสมัยปลายยุคน้ำแข็งและต้นยุคน้ำท่วม (Bellwood 1997) ต่อมาอีกประมาณ 1,000 ปีต่อมา หรือประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว (รัศมี ชูทรงเดช 2545ข : 18) พื้นที่เหนือหลุมศพที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอดก็ยังคงใช้พื้นที่ฝังศพ ลักษณะการฝังศพแตกต่างออกไปจากสมัยก่อนหน้า คือมีลักษณะการปลงศพโดยการฝังในท่านอนหงายเหยียดยาว ส่วนของเซ่นที่วางไว้ข้างโครงกระดูกคือสะเก็ดหิน ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ และเปลือกหอย(ที่มา : ""http://sac.or.th/) พบบริเวณจากที่ว่าการอำเภอปางมะผ้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 ไปอำเภอปายประมาณ 2 กม. ผ่านบ้านสบป่อง บ้านวนาหลวง ถึงบ้านถ้ำ เข้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำลอด เดินต่อไปจนถึงถ้ำลอด ถ้ำนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 620 เมตร เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากถ้ำมี 2 ทาง ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และปากถ้ำด้านทิศเหนือที่มีธารน้ำของลำน้ำลาง ไหลลอดผ่านไปออกทางทิศใต้ ยาวประมาณ 608 เมตร ภายในถ้ำมี 3 คูหา คือ ถ้ำเสาหิน ถ้ำตุ๊กตา และถ้ำผีแมน เคยมีการขุดค้นภายในถ้ำผีแมนแต่ไม่มีรายงาน และจากการสำรวจของกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2529 (เรียกชื่อถ้ำนี้ว่าถ้ำเพชร ถ้ำแสนปม และถ้ำผีแมน) ได้พบเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำประเภทสับตัด เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบและแบบเรียบ ๆ เศษกระดูก และโลงไม้ขุดหรือโลงผีแมน 6 กลุ่ม ภาพเขียนสีปรากฏภายในถ้ำตุ๊กตา บนส่วนของเพดานและผนังถ้ำด้านทิศตะวันออก ภาพอยู่สูงจากพื้นประมาณ 90-135 ซม. มีด้วยกัน 3 ภาพ บนเนื้อที่ประมาณ 70 ซม. เขียนด้วยสีแดงและดำร่วมกัน โดยเขียนแบบเค้าโครงรอบนอกด้วยสีดำและระบายทึบภายในด้วยสีแดง และแบบ กิ่งไม้ เป็นภาพดอกไม้ (ต้นไม้) ภาพคนคล้ายกำลังโก่งคันธนู และภาพสัตว์คล้ายกวาง (ที่มา : http://www.era.su.ac.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -