ภาพเขียนสีเขายะลา


ละติจูด 6.526389 , ลองจิจูด 101.183318

พิกัด

ตำบลลิดล อำเภออำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีบริเวณเขายะลา จากการสำรวจทางโบราณคดีพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สัมพันธ์กับการพำนักอาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และภาพเขียนสี แหล่งภาพเขียนสีบนผนังหินของเขายะลา ได้แก่ 1) แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาตอแล (ตอลัง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขายะลา ตอแลหรือ ตอลังแปลว่า เพิงผาที่ใช้ในการบวงสรวง เพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวัตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 30 เมตร พื้นเพิงผาอยู่สูงจากระดับพื้นที่ภายนอกประมาณ 50 เมตร บริเวณเพิงผามีทางเดินต่อกันเป็นแนวยาว สภาพพื้นดินมีการทับถมของกระดูกสัตว์ กระดูกมนุษย์ และเปลือกหอย ปะปนกับก้อนหินขนาดเล็กถึงใหญ่ ผิวดินมีร่องรอยการขุดทำลายเพื่อนำดินไปใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ลักษณะของภาพเขียนสีเป็นภาพเขียนสีแดง เป็นภาพมือทาบและภาพสัญลักษณ์ พบบริเวณเพิงผาด้านทิศตะวันตกของเขายะลา กลุ่มภาพหันไปทางทิศตะวันตก กระจายตัวกว้างประมาณ 2 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ภาพล่างสุดสูงจากพื้นดิน 40 เซนติเมตร เขียนด้วยเทคนิคการลงสี (Pictograph) ด้วยสีแดง สันนิษฐานว่าเขียนด้วยดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) ทั้งสิ้น 13 ภาพ แบ่งตามการวางตัวของภาพได้ 10 กลุ่ม ประกอบด้วยภาพมือทาบด้วยมือซ้าย ไม่มีการตกแต่งภายในจำนวน 1 ภาพ กลุ่มภาพเส้นตรงจำนวน 7 ภาพ กลุ่มภาพเส้นตรงสลับจุดปะจำนวน 2 ภาพ ภาพคล้ายบันไดจำนวน 1 ภาพ และ 2 ภาพ ไม่สามารถระบุได้ 2) แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาและโพรงหินด้านทิศใต้ของเขายะลาสภาพทั่วไปเป็นโพรงหินที่มีความยาวประมาณ 105 เมตร ปากถ้ำหันไปทางทิศใต้ พื้นที่ราบภายนอกสูงกว่าพื้นที่ภายในโพรงถ้ำประมาณ 1 เมตร มักมีน้ำท่วมขังภายในถ้ำ โดยเฉพาะในฤดูฝน พื้นดินในถ้ำส่วนใหญ่เป็นทรายสภาพชุ่มชื้น ภายในถ้ำมีแสงสว่างน้อยเนื่องจากมีผนังหินกั้นระหว่างภายนอกและภายในถ้ำ พบกลุ่มภาพเขียนสีที่เพิงผาที่หันไปทางทิศเหนือ ขนาดของกลุ่มภาพยาว 5 เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ 1-2 เมตรลักษณะภาพเขียนสีเป็นการเขียนลงบนผนังหินด้วยสีดำแบบทึบ แสดงภาพกลุ่มคนและสัตว์ (ช้าง) อยู่ปะปนกัน เชื่อว่ารูปส่วนใหญ่น่าจะเป็นภาพเขียนในสมัยปัจจุบันที่เขียนทับลงบนภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีดำเป็นภาพกลุ่มคน คนติดอาวุธ โขลงช้าง และช้างติดสัปคับ เป็นการเขียนด้วยการลงสีดำ (Black Pictograph) อาจเขียนจากวัตถุดิบ เช่น ดินดำ (Black soil) ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่พบได้ทั่วไปบนภูเขา หรือผงฝุ่นถ่าน หรือเขม่าไฟ บนผนังหินที่ตั้งแบ่งระหว่างภายในถ้ำและพื้นที่ราบด้านนอกจึงทำให้แสงสว่างมีน้อยมาก และ 3) ภาพเขียนสีบริเวณเพิงหินช่องทางเดินตอนใต้ของเขายะลาพบเป็นภาพเดี่ยวบริเวณเพิงผาด้านทิศใต้ของเขายะลา ภาพหันไปทางทิศใต้ เขียนแบบลงสี (Pictograph) จากดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) เป็นแบบกิ่งไม้ (Stich man) ศีรษะเป็นภาพครึ่งวงกลมมีเส้นตรงยื่นออกมาจากปาก สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพคนเป่าไม้ซาง หรือเป่าลูกดอก หลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์กระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนกระดูกไม่สามารถระบุได้ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน(Earthenware sherd) เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบ(Glazed Stoneware) เครื่องมือหินกะเทาะ(Stone tool) โกลนขวานหิน(Pre-Polished Axe) ขวานหินไม่มีบ่าชาวบ้านพบบริเวณบึงน้ำธรรมชาติเชิงเขายะลาด้านทิศตะวันตก (ที่มา : https://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -