โบราณสถานเขาพระวิหาร (สถูปคู่)


ละติจูด 14.399399 , ลองจิจูด 104.683801

พิกัด

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภออำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

โบราณสถานเขาพระวิหาร (สถูปคู่) ที่เป็นของประเทศไทย ได้แก่ สถูปคู่ มี 2 องค์ มีลักษณะเหมือนกัน ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง สร้างจากหินทราย มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดกว้าง 1.93 เมตร สูง 4.20 เมตร หลังคาบาตรคว่ำ เป็นศิลปะแบบปาปวน พบฐานโยนีและศิวลึงค์ สันนิษฐานว่าใช้เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีสระตราว และบันไดสิงห์ โดยสระตราว หรือบาราย เป็นธารน้ำอยู่ตรงบริเวณลานหินเชิงเขาพระวิหาร มีแนวหินซ้อนกันเป็นขอบเขื่อนกั้นสายน้ำให้ไหลไปตามที่ต้องการ สร้างด้วยท่อนหินทรายซึ่งตัดมาจากแหล่งตัดหินมาวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ภาพสลักนูนต่ำที่ผามออีแดง บรรณาลัยของปราสาทโดนตรวลที่อยู่ใกล้เคียงกับปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทยทั้งสิ้น

สถูปคู่ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นโบราถวัตถุมีอยู่ 2 องค์ ตั้งคู่อยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง ถ้าเดินทางจากผามออีแดงไปยังเขาพระวิหารก็จะผ่านสถูปคู่นี้ มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดหน้ากว้าง 1.93 เมตร สูง4.20 เมตร ยอดมนคลายตะปูหัวเห็ด ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ ก่อ้สร้างด้วยหินทรายเป็นท่อนที่ตัดและตกแต่งอีกที นับว่าแปลกจากศิลปวัฒนธรรมยุคอื่นใดสถูปคู่ สร้างจากหินทราย มีรูปทรงสี่เหลี่ยม หลังคาบาตรคว่ำ สันนิฐานว่า เป็นศิลปะแบบปาปวน พบฐานโยนีและศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิด นักวิชาการจึงสันนิษฐานว่า สถูปคู่น่าจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

สถูปคู่ โบราณสถานขนาดเล็ก 2 หลัง ที่มีลักษณะเหมือนกั้น วางเรียงตัวคู่กั้นในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนานกับแนวแกนหลักของปราสาทพระวิหาร(นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นบริวารของปราสาท) ตั้งอยู่บนลานหินกว้างทางทิศใต้ของผามออีแดง สถูปคู่นี้ก่อสร้างด้วยหินทราย ก้อนหินเรียบวางทับซ้อนกันได้สนิทอย่างประณีต รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนหลังคายอดมนสร้างจากแผ่นหินขนาดใหญ่เพี้ยงชิ้นเดียวทั้งสองหลัง ตัวอาคารไม่มีประตูหรือหน้าต่าง แต่ภายหลังมีช่องใหญ่ เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุนักโบราณคดีได้สำรวจภายในตัวสถูป เป็นห้องกลวง มีประดิษฐานรูปเคารพที่อาจเป็นศิวลึงค์อยู่บนฐานโยนี ทำด้วยหินทรายอยู่ภายในอ้าคารทั้งสองหลัง แต่โบราณวัตถุดังกล่าวได้สูญหายไปแล้ว (ส้นนิฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเทวาลัย อุทิศถวายเทพในศาสนาฮินดู) เหลือแต่เพียงฐานรูปเคารพ 1 ชิ้นในสถูปองค์ทิศใต้เท่านั้น

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-06-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร