ปราสาทกำแพงใหญ่หรือปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่ (ปราสาทศรีพฤทเธศวร)


ละติจูด 15.101657 , ลองจิจูด 104.127877

พิกัด

วัดสระกำแพงใหญ่ ถนนประดิษฐ์ประชาราษฎร์ หมู่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะเป็นปราสาทอิฐ 3 องค์เรียงกันตามแนวทิศเหนือใต้ อยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปราสาทหลังกลางต่างจากปราสาทองค์เหนือใต้ ที่ขนาบข้าง เนื่องจากส่วนฐานบัว ประตูหลอกและเครื่องบนก่อด้วยหินทรายและมีมุขยื่นไปทางด้านหน้าหรือทิศตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีปราสาทหลังเดี่ยว แยกไปทางด้านทิศตะวันตกของปราสาทหลังใต้ส่วนด้านหน้าของปราสาท ประธานมีบรรณาลัยสองหลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตกด้านเดียว ปราสาททั้งหมดล้อมรอบด้วยแนวระเบียงคด โดยมีโคปุระรูปปีกกาอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้ โคปุระ มีลักษณะเป็นมุขยื่นออกมาด้านหน้าเท่านั้น ปราสาทหลังนี้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ราวช่วงปี พ.ศ. 1501-1800 จากการขุดแต่งบูรณะโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมาระหว่างปี พ.ศ. 2531-2532 ได้ค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญ ๆหลายชิ้น เช่น ประติมากรรมสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ รูปบุคคลประทับยืน พบบริเวณด้านหน้าบันไดทางขึ้นซุ้มโคปุระ ระเบียงคตด้านทิศใต้ เป็นรูปบุคคลยืนตรงมือซ้ายจับอยู่ที่เอวส่วนที่เป็นข้อศอกหักหายไปเหลือแต่ท่อนแขนช่วงบน ความสูง 140 เซนติเมตร ยืนอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่มีเดือยอยู่ใต้ฐาน ลวดลายผ้านุ่งจะมีลักษณะนุ่งผ้าเว้าที่บั้นเอว ผ้านุ่งมีขนาดสั้นเหนือเข่า ชายผ้าเว้าลงมาก ด้านข้างของขามีเข็มขัดรัดอยู่ค่อนข้างต่ำลงมาจากขอบผ้าที่บั้นเอว ที่เข็มเป็นอุบะปลายเรียวแหลมห้อยติดอยู่ ข้างใต้ผ้าที่นุ่งจับเป็นริ้วยาวลงมาในแนวตั้ง สวมกรอง-ศอ กำไล แหวนข้อเท้า เบ้าตาเจาะลึกลงไปเพื่อใส่หินมีค่า เชื่อว่าคงเป็นประติมากรรมรูปเทพในศาสนาฮินดู ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย จ.นครราชสีมา พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย ซึ่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ (หลวงปู่เครื่อง สุภัท.โท)เป็นผู้ค้นพบบริเวณด้านหน้าปราสาทประธาน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือขนาดนาค 3 ชั้น นาคมี 7 เศียร แผ่พังพานอยู่ด้านหลัง บริเวณด้านหลังเศียรพระพุทธรูปที่เป็นนาคปรกสลักรูปเทพนพเคราะห์ ปัจจุบันวัดสระกำแพงใหญ่เก็บรักษาไว้ที่วิหารลอย ภายในบริเวณวัดปราสาทจำลองซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ประดับบนชั้นหลังคา แม่พิมพ์ดินเผา ภาพพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ 3 องค์ แม่พิมพ์ภาพนี้เหมือนกับแม่พิมพ์ที่พบบริเวณประตูชัยทางด้านทิศใต้ของเมืองพิมาย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 เครื่องถ้วยเขมร รูปทรงต่าง ๆเช่น ไห กระปุก แจกัน เครื่องเคลือบรูปช้าง ตะครัน แท่นหินบดยา ลูกกลิ้งหินบดยา เหล็กรูปตัวไอ มีด ใบหอก เป็นต้น ปราสาทสระกำแพงใหญ่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู โดยมีรูปแบบศิลปขอมแบบปาปวน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 18 อาจได้รับการ เปลี่ยนแปลง บูรณะเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา (ที่มา : https://www.m-culture.go.th/sisaket)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 8 มี.ค.2478

เล่มที่ 99 ตอนที่ 155 21 ต.ค.2525

แก้ไขเมื่อ

2023-06-06

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร