ละติจูด 13.53 , ลองจิจูด 100.34
พิกัด
ตำบลโคกขาม อำเภออำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ
ความสำคัญ/ลักษณะ
แหล่งเรือจมบ้านขอม สาเหตุที่พบเรือเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541 ชาวบ้านบ้านขอมได้ใช้รถขุดตักดินเพื่อจะ ทําบ่อเลี้ยงกุ้ง บริเวณเขตที่ดินของนายเสน่ห์ หมีเงิน และนายไพโรจน์ ยิ้มดี จึงพบเรือไม้ สภาพของเรือที่พบฝังจม ดิน หัวเรือทิ่มลึกจากผิวดินประมาณ 3 เมตร ส่วนท้ายเรือสูงขึ้นมากกว่าด้านหัวเรือ ลึกจากผิวดินลงไปประมาณ 1.5 เมตร บนเรือพบภาชนะดินเผาจํานวนหนึ่งร่วมอยู่ด้วย เรือโบราณเรือที่พบเป็นเรือขุดจากไม้เนื้อแข็งประเภทตะเคียน ความยาวของเรือประมาณ 24 เมตร ความกว้างสุดบริเวณกลางลําเรือ 2.50 เมตร และมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 10-12 เซนติเมตร ภาชนะดินเผา ที่พบในเรือมีมีหลายลักษณะ คือ หม้อมีสัน (Carinated pots) มีปริมาณมากที่สุดในจํานวนชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ที่พบร่วมกันทั้งหมด ลักษณะเป็นหม้อก้นกลมปากบานออก มีสันที่ไหล่สภาพชํารุดแตกออกเป็นชิ้น ๆ ปากมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 26-29 เซนติเมตร หม้อก้นกลม (Globular pot) หม้อก้นกลมนี้เป็นรูปแบบภาชนะที่เป็นเทคนิคโบราณ เพื่อประโยชน์ ในการหุงหาอาหาร พบว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เริ่มทําภาชนะดินเผาใช้ และพบมากขึ้นในสมัย ทวารวดี นอกจากนั้นยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา หม้อกุณฑี (Kendi) หม้อน้ำมีพวยทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 28 เซนติเมตร ก้นแบน มีเชิงเตี้ย ๆคอสูงปากผายคล้ายปากแจกันมีพวยขนาดเล็กติดอยู่ที่บ่าภาชนะเนื้อดินค่อนข้างละเอียด หม้อมีเชิงเตี้ย หม้อทรงกลมมีเชิงเตี้ย ปากบานออกเล็กน้อยขอบปากด้านในมีการขูดเป็นร่องรูปวง แหวนโดยรอบจํานวน 1 เส้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-40 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร เนื้อดินหยาบหนาไส้ ในเป็นสีดํา จานหรือชาม เป็นรูปแบบของภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน ลักษณะทรงกลม ขอบปากตรง ก้นค่อนข้าง ตื้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 17 เซนติเมตร หนา 0.5-1 เซนติเมตร และสูงประมาณ 6-7 เซนติเมตร เนื้อ ดินค่อนข้างหยาบ สีของเนื้อดินไส้กลางค่อนข้างสม่ำเสมอ สภาพปัจจุบัน เสื่อมสภาพตามกาลเวลา (ที่มา : กรมศิลปากร. http://gis.finearts.go.th/fineart/)
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03