แหล่งเตาเผาโบราณแม่น้ำน้อย


ละติจูด 14.924035 , ลองจิจูด 100.270808

พิกัด

ตำบลเชิงกลัด อำเภออำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย มีหลักฐานซากเตาเผาและเศษภาชนะดินเผาตามผิวดินในพื้นที่ราว 2 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน้อย เขตตำบลโคกหม้อ หมู่ที่ 7 ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี แหล่งเตาเผาลักษณะเป็นโคกใหญ่เหลืออยู่บ้างในบริเวณวัดพระปรางค์การค้นพบแหล่งโบราณคดีเตาเผาแม่น้ำ พื้นที่บริเวณแถบนี้ มีเศษภาชนะเช่น หม้อ ชามดินเผา เป็นจำนวนมากและมีเนินดินสูง ๆ มีอิฐดินเผาโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดินออกจึงพบก้อนอิฐวางเรียงกันอยู่ด้านล่างจำนวนมาก กรมศิลปากรได้เข้ามาสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 2531 บริเวณวัดพระปรางค์ มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ 3 เนินเชื่อมต่อกัน พบเตาเผาภาชนะดินเผาทับกัน 5 เตาเป็นเตาประทุนก่ออิฐสอดิน แบบกระจายความร้อนในแนวระนาบ โดยโครงสร้างของเตาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้าใช้เป็นที่ใส่เชื้อเพลิงกว้าง 2.50 เมตร มีกำแพงกั้นไฟกว้าง 5 เมตร ส่วนที่วางภาชนะในห้องเผากว้าง 5.60 เมตร ส่วนคอดเข้าคอเตาสู่ปล่องไฟกว้าง 2.15 เมตร มีความยาว โดยตลอดตัวเตาทั้งสิ้น 16 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในเตาเผาแม่น้ำน้อยนั้น ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นไหสี่หู ครก โอ่งอ่าง กระปุกปูน ขวดปากแตร เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมเช่น กระเบื้อง งานประติมากรรมลอยตัว กระสุนดินเผาขนาดต่าง ๆ แหล่งโบราณคดีเตาเผาแม่น้ำน้อยสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาตั้งแต่ช่วง สมเด็จพระนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระอินทร์ราชา (เจ้านครอินทร์) ประมาณปี พ.ศ. 1952 พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงเคยเสด็จไปเยือนเมืองจีน และในสมัยนั้นมีช่างฝีมือทำเครื่องปั้นดินเผาของจีนเข้ามาทำมาหากินและทำเครื่องปั้นดินเผาถวายราชสำนักของอยุธยาด้วย เมื่อการขุดคนเสร็จแล้วจึงมีการจัดการเตาเผาแม่น้ำน้อยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และมีการจัดสร้างอาคารโรงเรือนขนาดใหญ่ครอบเตาเผาเอาไว้จำนวน 2 เตา และมีอาคารจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาบางส่วนที่ขุดพบในบริเวณเตาเผานี้ รวมถึงอาคารขายสินค้าที่เป็นของที่ระลึกของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ด้วย ต่อมาองค์การปกครองท้องถิ่นเข้ามาจัดการอาคารพิพิธภัณฑ์และอาคารขายสินค้า และทางวัดพระปรางค์ได้จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน โรงรถ ปรับปรุงให้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์และนำโบราณวัตถุต่าง ๆ เข้ามาจัดแสดง และแบ่งทำเป็นห้องคลังส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เก็บเครื่องปั้นประเภทไหสี่หู เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ลูกกระสุนปืนใหญ่ขนาดต่าง ๆ (ที่มา : เว็บไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -