วัดพญาดำ


ละติจูด 17.423002 , ลองจิจูด 99.784126

พิกัด

ตำบลหนองอ้อ อำเภออำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

สาเหตุที่เรียกวัดพญาดำ เนื่องจากมีคนร้ายลักลอบขุดหาพระพิมพ์ และพบพระพิมพ์นางพญาเนื้อสีดำเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ราษฎรแถบนั้นเรียกชื่อวัดว่าวัดพญาดำ เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดกลาง ประกอบด้วย 1) มณฑปประธานก่อด้วยศิลาแลง สอปูนฉาบปูนทั้งหลัง เป็นมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคารูปคล้ายประทุนเรือก่อโดยวิธีเรียงศิลาแลงเหลื่อมเข้าหากัน ทำเป็นรูปหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น ตัวมณฑปตั้งอยู่บนฐานเขียงหน้ากระดานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 12.3 เมตร ยาว 14.1 เมตร ถัดขึ้นมาเป็นฐานเขียงหน้ากระดานอีก 1 ชั้น ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ซึ่งถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว คูหาด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูป 2 หรือ 3 องค์ ซึ่งชำรุดมาก ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปยืนหรือลีลา ผนังข้างซ้ายไม่ปรากฏหลังฐานแน่ชัด ประตูทางเข้าคูหาทั้งสองด้านทำเป็นซุ้มรูปกลีบบัว มีวิหารโถงหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องขนาด 1 ห้อง ยกพื้นสูงย่อเก็จที่ส่วนหน้าเชื่อมติดกับด้านหน้ามณฑป 2) วิหารอยู่ด้านหน้าในแนวเดียวกับมณฑปประธานก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง แผนผังวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าย่อมุข 2 ครั้ง ด้านหลัง 1 ครั้ง นอกฐานด้านหน้ายังมีต้นเสาอีก 1 ห้อง บันไดทางขึ้นวิหารมี 4 ทาง คือ ด้านหน้าตรงส่วนที่จะย่อเป็นมุขครั้งที่ 2 ทั้งสองด้าน และด้านข้างซ้ายตรงห้องท้ายสุดที่ยังไม่ย่อมุขกับด้านขวาตรงห้องที่ย่อมุข 3) มณฑปพระอัฏฐารศก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ด้านขวาจองมณฑปประธาน ฐานล่างสุดของมณฑปเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาด 6.7x7 เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมหน้ากระดานอีกขั้นหนึ่งแล้วจึงถึงชุดของฐานปัทม์ท้องไม้ลูกฟัก 4) ซุ้มพระสี่ทิศตั้งอยู่ทางด้านหลังวัด หน้าแท่นพระนอนเหลือเฉพาะฐานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ลักษณะเป็นฐานปัทม์รองรับซุ้มพระมี 4 ซุ้ม ประจำทิศ แต่ละซุ้มมีร่องรอยว่ามาเชื่อมต่อกับซุ้มกลาง ซึ่งก่อด้วยอิฐลักษณะคล้ายจะทำเป็นคูหา แต่สภาพที่เหลืออยู่พังทลายมากจนไม่อาจทราบรูปทรงที่ชัดเจน ขนาดของซุ้มด้านหลัง และด้านข้างทั้งสองใกล้เคียงกัน แต่เดิมคงจะมีครบทั้ง 4 องค์ แต่ถูกทำลายไป โดยรอบซุ้มพระและเจดีย์ มีแนวศิลาแลงเรียงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (แต่มีบางส่วนถูกทลาย) แสดงให้เห็นถึงการเน้นความสำคัญหรือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของโบราณสถานกลุ่มนี้ 5) แท่นพระนอนตั้งอยู่ด้านหลังสุดติดกับกำแพงวัด ก่อด้วยศิลาแลงเป็นแท่นปัทม์ ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ชั้น ฐานล่างสุดกว้าง 7.5 เมตร ยาว 14.7 เมตร มีร่องรอบของการสร้างซ้อนทับก่อปิดแท่นเดิมเอาไว้ภายใน ที่บริเวณตรงกลางด้านหน้าแท่น มีบันไดขึ้นสู้บนตัวแท่นคู่กัน 2 บันได บันไดละ 3 ขั้น กว้าง 1.2 เมตร บนตัวแท่นปูพื้นด้วยศิลาแลง และก่อศิลาแลงยกพื้นขึ้นเป็นแท่นสี่เหลี่ยมกว้าง 3 เมตร 6) เจดีย์รายก่อด้วยศิลาแลง มีจำนวนทั้งสิ้น 38 องค์ ตั้งกระจายอยู่บนพื้นที่ภายในกรอบกำแพงด้านหลังวิหาร มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนมากที่สุดจะมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งบางองค์ก็มีการก่อแท่นบูชาเพิ่มเข้ามาในภายหลัง มีเพียง 2 องค์เท่านั้นที่เป็นฐานแปดเหลี่ยม กับ 3 องค์ที่เป็นฐานกลมในกลุ่มซุ้มจัตุรมุข (ซุ้มพระ 4 ทิศ) เจดีย์รายทั้งหมดถูกทำลายเนื่องจากการขุดหาโบราณวัตถุจนพังทลายเหลือเพียงฐาน มีเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่เหลือหลักฐานอยู่ค่อนข้างมาก คือ องค์ที่อยู่ด้านหลังของมณฑปพระอัฏฐารศ 7)เขตสังฆาวาสบริเวณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเขตสังฆาวาสของวัดนี้ คือ พื้นที่นอกกำแพงออกไปทางด้านใต้ของวิหาร ซึ่งได้พบอาคารเล็ก ๆ 2 หลัง 8) สระน้ำด้านหน้าวิหารลักษณะเป็นบ่อหรือสระซึ่งเกิดจากการขุดเอาศิลาแลงขึ้นมาใช้งาน และ 9) กำแพงวัดที่เหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นแนวกำแพงศิลาแลงที่ใช้แท่งศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมปักเรียงชิดติดกันมีศิลาแลงทับหลังกำแพงปักเป็นแนวยาวล้อมกรอบพื้นที่ตั้งแต่ท้ายวิหารออกมาแล้ว ทางด้วยหลังวัดทั้งหมดเป็นกรอบพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่แนวตั้งแต่ท้ายวิหารไปตรงกำแพงด้านซ้ายขาดหายไป กำแพงทางด้านซ้ายนี้มีต่อยาวออกไปถึงส่วนของวิหารแล้วก็ขาดหายไป ส่วนกำแพงด้านขวาก็มีเพียงส่วนที่หักมุมเข้ามาท้ายวิหาร ถ้าดูจากแนวกำแพงที่เหลือแล้วก็น่าจะสันนิษฐานได้ว่าคงจะมีแนวกำแพงล้อมกรอบพื้นที่ในส่วนของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -