พระธาตุโพนจิกเวียงงัว (วัดพระธาตุบุ)


ละติจูด 17.79869 , ลองจิจูด 102.696024

พิกัด

ตำบลปะโค อำเภออำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 41250

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ประดิษฐานอยู่ภายในวัดโคกป่าฝาง เดิมเรียกว่าพระธาตุโพนจิกและเนื่องจากบริเวณใกล้เคียงมีคอกวัว ชาวบ้านจึงเรียกว่าพระธาตุโพนจิกเวียงงัวอุชุพราชต่อมาชาวบ้านพบพระธาตุบุโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน จึงเรียกว่าวัดพระธาตุบุ มีตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับการประดิษฐานพระธาตุที่ย้อนไปถึง พ.ศ. 8 และเชื่อกันว่าผู้ที่ก่อสร้างพระธาตุคือ พระโพธิสาลราช กษัตริย์ล้านช้าง พระราชบิดาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2063-2093 ลักษณะของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นเจดีย์ก่ออิฐสอด้วยดินและยางไม้ ผังกลม เป็นเจดีย์ทรงระฆังสูง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 17.5 เมตร ภายในฐานประทักษิณถมดินอัดแน่นและน่าจะมีการฉาบขอบฐานประทักษิณด้วยปูนฉาบ อีกทั้งมุมทั้ง 4 ทิศพบซากฐานอิฐรูปทรงสี่เหลี่ยม สันนิษฐานว่าเป็นพระธาตุจำลองประจำมุม 4 องค์ ลักษณะเจดีย์ประกอบไปด้วยฐานเขียงซ้อนลดหลั่นรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในผังกลม จากนั้นเป็นองค์ระฆังทรงกรวยสูง ต่อด้วยยอดเป็นชั้นบัวลูกแก้วในผังกลมซ้อมกัน 4 ชั้น (คล้ายปล้องไฉน) ส่วนยอดสุดเป็นปลีทรงแหลมสูง มีการประดับตกแต่งส่วนยอดด้วยปูนปั้นลายพญานาคและประดับกระจกสี สันนิษฐานว่าส่วนยอดถูกซ่อมขึ้นใหม่ มีลักษณะศิลปะพื้นบ้านอย่างเห็นได้ชัด เจดีย์บริวารขนาดเล็กที่ยังเหลือครบสมบูรณ์เคยตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่เรียงรายล้อมส่วนฐานเขียงของพระธาตุทั้ง 4 ด้าน รวมแล้วอาจมีทั้งสิ้น 30 องค์ ลักษณะองค์เจดีย์บริวารคล้ายกับพระธาตุโพนจิกคือเป็นองค์ระฆังทรงกรวยสูง ต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีปูนปั้นลายกลีบบัว ยอดทรงกรวย อุโบสถเป็นซากฐานอาคารก่ออิฐขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระธาตุโพนจิก ผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดประมาณ 5.3x5.7 เมตร ฐานเขียงยกสูง 1 ชั้น ผนังพังทลาย ใต้พื้นอาคารถมปรับพื้นด้วยเศษอิฐและดินผสมกับเม็ดแลงบดอัด ภายในอคารมีฐานชุกชีอยู่ท้ายอาคาร (มีพระพุทธรูปโลหะสมัยปัจจุบันประดิษฐานอยู่) และมีแท่งศิลาแลงปักอยู่โดยรอบอาคาร จึงสันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้น่าจะเป็นอุโบสถหรือสิม พระธาตุบุ(บุ หมายถึงโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงของพระธาตุโพนจิกเวียงงัว เป็นเจดีย์ผังกลมขนาดเล็ก เป็นฐานกลมฉาบปูนซ้อนกัน 4 ชั้น ด้านบนเป็นศิลาแลงรูปคล้ายดอกบัวตูม ปลายสุดเป็นลูกแก้วกลมฉาบปูน ปัจจุบันมีการสร้างศาลาโปร่งคลุมไว้ โดยพื้นศาลารอบพระธาตุปูด้วยแผ่นกระเบื้อง (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-03-21

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -