วัดศรีเมือง


ละติจูด 17.885445 , ลองจิจูด 102.7493

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 17000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดศรีเมือง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2100 หรือ 2120 โดยพระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยสร้างขึ้น ณ บริเวณหนองน้ำตามที่ได้ทรงอธิษฐานให้จับนกเขาเผือกได้ พร้อมกับได้สร้างพระพุทธรูปยืนด้วย 1 องค์ เรียกชื่อวัดว่า วัดเมืองหนองต่อมาประมาณ พ.ศ.2450 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีเมืองสิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ 1) พระไชยเชษฐา ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก ก่อด้วยอิฐฉาบปูน ทาสีทองทั้งองค์ มีแผ่นรองรับด้านหลัง พระกรสองข้างแนบลำพระองค์ ครองจีวรห่มคลุมปลายจีวรโค้ง พระหัตถ์ปรากฏรูปแบบศิลปกรรมพื้นถิ่นอิทธิพลล้านช้าง เจดีย์ทรงปราสาทหรือกู่ พระพุทธรูปสัทธาธิกหรือหลวงพ่อศรีเมือง และศิลาจารึกสมัยล้านช้าง 2) หลวงพ่อศรีเมือง(พระพุทธสัทธาธิกะ) ประดิษฐานเป็นประธานในอุโบสถ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัยบนฐานปัทม์ พระพักตร์เสี้ยม พระนาสิกใหญ่โด่งงุ้ม มีเส้นเชื่อมระหว่างขอบพระโอษฐ์สองข้างกับขอบพระนาสิก เม็ดพระศกเล็กรัศมีรูปเปลวแหลม ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ปลายตัด นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวเสมอกัน ฐานเป็นขาสิงห์ประกอบกับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ฉลุลายโปร่ง 3) เจดีย์ทรงปราสาท (กู่) หรือ กรงนกพระไชยเชษฐาอยู่ภายในอุโบสถ ด้านหลังพระพุทธรูปสัทธาธิก ลักษณะเป็นอาคารมณฑปโถงหรือเจดีย์ทรงปราสาทหรือกู่ สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน ลักษณะก่ออิฐถือปูน อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ยอดเป็นหลังคาลาดซ้อนกันตกแต่งด้วยลายปูนปั้น โดยเฉพาะรูปนาคหรือมังกร มีซุ้มสี่ด้าน คล้ายคลึงกันกับปราสาทหรือกู่ของศิลปะล้านนามาก 4) ศิลาจารึกตั้งอยู่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของอุโบสถ ติดกับรั้วระเบียง ทำจากหินทราย เป็นจารึกที่เคลื่อนย้ายมาจากวัดศิลาเลข อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ลักษณะจารึกเป็นแผ่นหินทราย รูปทรงเสมาสูง มีจารึก 1 ด้าน (ค่อนข้างเลือนลาง) จารึกด้วยอักษรไทยน้อย 40 บรรทัด ระบุจุลศักราช 928 (ตรงกับ พ.ศ.2109) มีสาระสำคัญว่า พระไชยเชษฐาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดศรีสุพรรณอาราม และอุทิศที่ดิน ทาสโอกาสแก่วัด และสาปแช่งผู้ทำลายทานวัตถุเหล่านั้น 5) หลักเมือง (เจ้าพ่อหลักเมือง)ลักษณะเป็นเสมาหินทราย 2 ใบ ปักซ้อนกันอยู่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกนอกรั้วระเบียงอุโบสถ หรือด้านหน้าของศิลาจารึก โดยตั้งอยู่ภายในศาลขนาดเล็กที่เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ไม่ทราบที่มาแน่ชัด หลักเมืองหรือเสมาด้านหน้ามีขนาดเล็ก ความสูง (เฉพาะที่โผล่พ้นพื้นศาล) ประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหลักเมืองหรือเสมาด้านหลัง มี่ความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ปัจจุบันมีการทาเสมาทั้ง 2 ใบด้วยสีแดง พร้อมทั้งมีเครื่องเซ่นต่าง ๆ วางอยู่โดยรอบและบนหลักเมือง (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ