วัดสาวสุวรรณาราม


ละติจูด 17.800077 , ลองจิจูด 102.667762

พิกัด

ตำบลเวียงคุก อำเภออำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 43000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดสาวสุวรรณาราม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2528 ตั้งอยู่ในพื้นที่เวียงคุก ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เขมร และล้านช้าง สันนิษฐานว่า เดิมวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง ราว พ.ศ.2200 โดยพระองค์ได้มอบให้หมื่นกางโฮงนำบริวารอพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ แล้วให้สร้างวัดขึ้น 2 วัด โดยทรงอนุญาตให้ใช้พระนามพระราชธิดาทั้ง 2 องค์เป็นชื่อวัด คือ วัดกุศลนารี สำหรับพระธิดาองค์ใหญ่ และวัดสาวสุวรรณาราม สำหรับพระธิดาองค์เล็ก เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระธิดาทั้ง 2 ได้ทรงอุปถัมภ์มาโดยตลอด สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระธาตุตั้งอยู่ด้านหน้าเบื้องซ้าย (ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ของอุโบสถ นอกกำแพงแก้ว สภาพสมบูรณ์ ลักษณะเป็นพระธาตุหรือเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน ทรงบัวเหลี่ยมในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในล้านช้าง เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงและฐานบัวลูกแก้วอกไก่ที่ไม่สูงมากนัก (ฐานเขียงชั้นล่างสุดกว้างด้านละประมาณ 6 เมตร) ถัดขึ้นไปจึงเป็นองค์เจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม ยอดเรียวสอบ ที่มุมล่างองค์ระฆังทั้งสี่มุมประดับด้วยกลีบบัวปากระฆังมีปลายงอน ส่วนยอดพระธาตุเป็นบัวคว่ำ ลูกแก้วอกไก่ บัวหงายและองค์ระฆังจำลองซ้อนลด ต่อด้วยส่วนปลียอด รวมความสูงประมาณ 8.2 เมตร ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ที่ไม่สูงนี้ เป็นที่นิยมในศิลปะล้านช้างราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 เจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม (แปดเหลี่ยม)ตั้งอยู่ด้านหน้าเบื้องขวา (ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้) ของอุโบสถ นอกกำแพงแก้ว สภาพสมบูรณ์ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน ทรงบัวแปดเหลี่ยมแบบที่นิยมในล้านช้าง ลักษณะฐานชั้นล่างสุดทรงแปดเหลี่ยมซ้อน 2 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัทม์ บัวคว่ำ องค์ระฆังทรงแปดเหลี่ยมส่วนปลายคอดเรียว ส่วนบนเป็นปลียอด รวมความสูงประมาณ 5 เมตร ฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับยอดทรงคล้ายดอกบัวอยู่ในผังแปดเหลี่ยม กำหนดอายุได้ในสมัยล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 มณฑปและเสมามณฑปตั้งอยู่ด้านหน้าเบื้องซ้าย (ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ของอุโบสถ นอกกำแพงแก้ว ติดกับพระธาตุ (อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระธาตุ) ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐขนาดเล็ก ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละประมาณ 2.5 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร มีทางเข้าอยู่ด้านทิศเหนือ โดยเจาะเป็นประตู ผนังด้านทิศตะวันตกมีช่องแสงประดับลายปูนปั้นรูปพญานาคขมวดหาง ปัจจุบันมณฑปทาด้วยสีขาวออกเหลือง พญานาคทาสีส้ม (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-11-07

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -