วัดเทพพลประดิษฐาราม


ละติจูด 17.798059 , ลองจิจูด 102.669288

พิกัด

ตำบลเวียงคุก อำเภออำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดเทพพลประดิษฐาราม เดิมชื่อวัดสิริเทพพล หรือวัดทุ่ง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460 หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญภายในวัด คือ ธาตุเจดีย์หมายเลข1ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุโบสถ และธาตุเจดีย์หมายเลข 2 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหาร พระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนปางเปิดโลกที่ประดิษฐานในซุ้มจระนำของธาตุเจดีย์หมายเลข 2 ปัจจุบันเหลือปรากฏเพียงที่ด้านทิศตะวันตกและใต้ โดยองค์ด้านทิศตะวันตกมีสภาพชำรุด พระเศียร พระกรข้างขวา และส่วนตั้งแต่พระชานุลงไปหักหาย ครองจีวรห่มเฉียง ปลายสังฆาฏิเป็นแฉก ในขณะที่องค์ด้านทิศใต้สภาพสมบูรณ์ ครองจีวรห่มคลุม กำหนดอายุสมัยในศิลปะล้านช้างราวพุทธศตวรรษที่ 22 เสมาในตำแหน่งตรงกลางและเบื้องซ้าย-ขวาด้านหน้าของอุโบสถ (อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) เป็นประติมากรรมในโครงสร้างหลังคาของปราสาทหินในศิลปะเขมร รวม 3 ชิ้น โดยที่เบื้องซ้ายและขวาลักษณะเป็นชิ้นส่วนกลีบขนุนที่มีการสลักเป็นรูปบุคคลหรือเทวรูป ส่วนชิ้นตรงกลางด้านหน้าเป็นประติมากรรมรูปสลักรูปสัตว์ คล้ายพญานาค (ยังสลักไม่เสร็จ) คาดว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 16-18 ซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนปราสาทหินเก่าแก่กลับมาใช้ใหม่ในพุทธศาสนสถานรุ่นหลังภายในวัดยังมีสิ่งสำคัญ ได้แก่ วิหารอยู่ด้านข้างหรือด้านทิศเหนือของอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ โครงหลังคาทำด้วยไม้ ศิลปะล้านนาล้านช้าง ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ รอบวิหารประดับประติมากรรมเศียรพญานาคศิลปะขอมโบราณ ด้านหน้าวิหารจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่วัด โดยเฉพาะที่ได้จากการบูรณะธาตุเจดีย์องค์ที่ 2 เช่น เครื่องใช้ที่ทำด้วยดินเผา ภาชนะดินเผา เครื่องใช้สำริด และพระพุทธรูปไม้สลัก อุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนยกพื้น ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นลงอยู่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก ศิลปะโดยทั่วไปเป็นแบบผสมระหว่างภาคกลางกับท้องถิ่น ตัวลำยองและทวยสลักด้วยไม้ ตามประวัติกล่าวว่าเป็นอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมเมื่อราวกว่า 100 ปีก่อน (?) ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพื้นเมืองล้านช้าง เสมารอบอุโบสถบางส่วนเป็นกลีบขนุนของปราสาทหินและพระพุทธรูปดังกล่าวข้างต้น ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านทิศเหนือของวัด เป็นศาลาโปร่งก่ออิฐถือปูนตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2542 รอบศาลหลักเมืองมีชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างก่ออิฐถือปูนเป็นลักษณะกลม บางชิ้นมีลายปูนปั้นเป็นรูปดอกบัว บางชิ้นเป็นฐานปัทม์ สันนิษฐานว่าอาจเป็นชิ้นส่วนบัวของพระธาตุเก่า บ่อน้ำโบราณลึกประมาณ 6 เมตร กรุด้วยไม้ท่อนเล็ก ๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับสร้างวัด ชาวบ้านเชื่อว่าภายในบ่อมีฆ้องทองคำอยู่ เพราะน้ำในบ่อบางครั้งจะมีสีเหลืองเหมือนทอง ปัจจุบันปากบ่อก่ออิฐถือปูนไว้ และสระน้ำมี 2 สระ ทั้งสระเก่าและสระใหม่ ขุดเมื่อ พ.ศ. 2521 เล่ากันว่าระหว่างขุดได้พบทองคำเป็นรูปครกและสาก หนักประมาณครึ่งกิโลกรัม กรรมการวัดได้นำไปขายเพื่อนำเงินมาสร้างกำแพงล้อมรอบโบสถ์ (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -