ละติจูด 17.84187 , ลองจิจูด 102.431159
พิกัด
ตำบลโพธิ์ตาก อำเภออำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดดงนาคำ (วัดอรัญญา) เคยพบหลักหินและเสมาหินที่มีลวดลายคล้ายใบเสมาสมัยทวารวดี จำนวน 52 ชิ้น แต่เกือบทั้งหมดถูกขนย้ายไปตั้งไว้ที่หน้าหอสมุดวัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ โดยยังเหลืออีกหนึ่งหลักตั้งไว้ที่วัดโพธิ์ตาก เมื่อตั้งวัดพระสงฆ์ได้ขอกลับไปตั้ง ณ ที่เดิม 3 ชิ้น ภายในพื้นที่วัดยังพบเศษหินศิลาและเศษภาชนะดินเผาสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เคยพบเครื่องมือหินประเภทใบขวานหิน ภาชนะสำริด และโอ่งดินเผาขนาดกว้าง 2 ฟุต ภายในพบกระดูกและฟันสัตว์ หม้อขนาดเล็ก ลวดลายภายนอกของโอ่งดินเป็นลายทาบจากเครื่องจักสานประเภทเสื่อสาด หรือการขูดขีดของไม้ให้เป็นร่อง ไม่มีการเคลือบ สันนิษฐานว่า พื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นชุมชนสมัยทวารวดี มีแนวกำแพงดินและคูน้ำล้อมรอบ และน่าจะเป็น เวียงนกยูง ที่ปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางศาสนา หลักหินที่พบจำนวนหนึ่งมีรูปทรงคล้ายแท่งหินหรือหลักศิลาที่ใช้ปักแสดงเขตประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มวัฒนธรรมหินตั้ง (Megalith) ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ส่วนเสมาหินบางใบมีลวดลายคล้ายใบเสมาสมัยทวารวดี บางใบมีภาพจำหลักเรื่องราวชาดก จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนแห่งนี้มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี สิ่งสำคัญภายในวัดปัจจุบันมีเพียงหลักหินและเสมาหินทราย 6 หลัก โดยปักเรียงกันกันตามแนวทิศเหนือ-ใต้ บนแท่นซีเมนต์ปูแผ่นกระเบื้อง ภายในศาลาโปร่งขนาดเล็กด้านข้างหรือด้านทิศตะวันออกของศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาโสฬสมงคลธรรม) หลักหินและเสมามีขนาดความสูงตั้งแต่ประมาณ 0.5-2 เมตร ไม่มีลวดลาย (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) http://sac.or.th/)
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2020-12-03